Knowledge | Page 2

News & Updates

Archive for Knowledge

The Packaging Design Trend 2014

แนวโน้มการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2014 – The Packaging Design Trend 2014

No matter how much people rely on social media and emails to communicate, the one thing that they’ll never stop needing is packaging. Packaging is just as important as the product itself, and it goes a long way toward convincing customers that they want what’s inside.

แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014 (1)

Most people don’t think about the packaging on the products they purchase or the boxes that those products are mailed in. But it has a tremendous impact, and just like any industry, the packaging industry is subject to trends  and developments. Here are some of the exciting new developments to watch for in 2014.

1. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014: เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

The green movement is continuing to gather strength, and environmentally friendly packages are a great way to make inroads with concerned customers. As a result, many businesses are looking toward investing in packages that are environmentally friendly either because they are biodegradable or made from recycled products. It makes for a great selling point and reduces consumer guilt about buying products in packages.

แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014 (1)

2. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014: หลายการใช้งาน

Sometimes people buy products just as much for the bonuses as they do for the actual product. Packages that serve multiple uses are going to be even more popular in 2014. Even if the packaging itself isn’t environmentally friendly, a product that has a package with multiple uses will still be seen as superior to one that only contains the product. The packaging design needs to make the multiple uses clear, though, or else this trend won’t succeed.

3. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014: การใช้ Mascot

When it comes to cartoon characters, creative packaging can turn a boring product package into an exciting must-have option. McDonald’s realized this long ago with their Happy Meals designed to look like little houses, complete with cutout doors for the Cabbage Patch dolls. But for quite some time, those creative packaging options relied primarily on simple box shaped designs.

With breakthroughs in the printing industry including 3D printing, such limitations won’t be as big of an issue in 2014. This means that businesses that want to explore more creative options for mascot incorporation will be able to do it.

4. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014: ผิวด้าน

From Glamour magazine to the pamphlet “Projected Business Trends in Indiana for 2014,” the matte finish looks to be one of the more common design elements in packaging. It isn’t as sleek or as stylish as a polished finish, but it isn’t tacky either. Visually, it stands out. Bright colors can be used, but they aren’t as overpowering because the matte subdues them.

แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014 (3)

5. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014: การออกแบบเรียบง่าย

The minimalist design movement has made some of the biggest waves in the web design community, particularly on mobile websites and iOS platforms. Simple black-and-white photography and flatted UIs have created a whole new palette. For businesses with products to sell from their websites, matching the packaging design with the web design can be a great step. An added benefit is that the minimalist design tends to be less expensive to print, which also makes it popular.

Packaging isn’t going to go away any time soon, but it is going to keep developing. 2014 looks to be an exciting time with new trends. Packages that are environmentally friendly while also having multiple uses will likely develop. The functional form that benefits the seller as much as the consumer will also probably make its showing and increase in popularity, particularly as it resolves common problems for shop owners. Of course, packaging trends for 2014 will also extend to safety measures along with product variation changes to indicate expiration or tampering. And design changes will likely move toward the matte finish as well as the minimalist design. Look for packaging to be more exciting than ever.

 

แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014 (4)

6. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014: เขียนลวดลายแบบอักษรมือเปล่า (Freehand Fonts)

This trend characterizes itself for its handwritten and carefully “untidy” fonts, which address to the consumer in a friendly and authentic tone. Casual, informal and cool designs that look fresh and spontaneous. Decorative fonts and touching illustrations humanize the product and makes it look handmade. A graphic resource that was used only by few products focalized on a reduced group of consumers; today is gaining adepts and acceptation between consumers.

In an attempt to move away from massive and industrial products, these packaging designs align themselves with a tendency that appreciates origin along with handcraft products, opposite to the artificial imagery associated with industrial manufacture process. Today, human is not only about warmth, it is also a sign of authenticity.
แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014 (8)

7. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014: แสดงความเด่นของผลิตภัณฑ์ด้วยผลิตภัณฑ์

This trend sets an integration between product and graphic elements in order to seek a playful approach to the product. Flat graphic elements combine with 3D pictures to achieve an abstraction from reality that is both attractive and differentiating.

As a result, the product gains significance to strengthen its values, inviting the consumer to a different experience. Reality and fiction combine themselves resulting in a magical graphic solution. These are just some of the many aesthetic trends we can find nowadays in packaging design worldwide. Each of them has singularities but they all converge in the seeking for differentiation and segmentation in a world of consumers demanding constant innovation.

แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014 9)

 

Credit: thedeependdesign.com / thedieline.com (แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ 2014)

 

 

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

โฟมพลาสติก

การควบคุมการใช้สารเคมีซีเอฟซี (คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน) ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อการผลิตโฟมพลาสติกแต่อย่างใด เนื่องจากอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้ใช้สารอื่นๆ แทนมาเป็นเวลานานแล้ว โฟมพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ โฟมพอลิสไตรีน โฟมพอลิเอทิลีน และโฟมพอลิ ยูรีเทน

โฟมพอลิสไตรีน

เป็นโฟมพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา เซลล์ปิด แข็งปานกลาง ราคาถูก มีคุณสมบัติให้ไอน้ำซึมผ่านและดูดน้ำต่ำ จึงใช้เป็นฉนวนได้ดี ในการผลิตนั้น เรซินซึ่งเป็นเม็ดเล็กๆ จะอิ่มตัวด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 8% เช่น ก๊าซเพนเทน โดยใช้เป็นสารขยายตัว เมื่อถูกความร้อนถึงอุณหภูมิ 85.096.1 ํซ. สารขยายตัวจะระเหยออกไป ทำให้เกิดความดันภายใน ขยายเรซินเม็ดเล็กๆ ออกเป็นเม็ดโฟม เรียกว่า พรี–พัฟ (pre–puff) ถ้าจะนำไปใช้ทำเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อเก็บความเย็น เช่น กล่องบรรจุผัก และผลไม้ ฯลฯ เม็ดโฟมจะขยายตัวได้ 25–40 เท่า มีความหนาแน่น 0.016–0.026 กรัม/ซม.3 การที่เม็ดโฟมมีรูปร่างตามแม่พิมพ์ได้นั้นจะต้องฉีดเม็ดพรี–พัฟเข้าไปในแม่พิมพ์ อัดภายใต้ความดัน ขณะเดียวกันไอน้ำในแม่พิมพ์จะทำให้แม่พิมพ์ร้อนขึ้น ความร้อนและความดันจะหลอมเม็ดโฟม เข้าด้วยกันเป็นโฟมประเภทเซลล์ปิด มีการดูดซึมน้ำต่ำ โฟมพอลิเอทิลีนจะคล้ายกับโฟมพอลิสไตรีนในการพิมพ์ออกมาเป็นกล่อง ผู้ผลิตจะส่งมาในรูปของผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว จึงสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน มี ความหนาแน่นระหว่าง 0.029–0.12 กรัม/ซม.3

โฟมพอลิยูรีเทน

เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันที่ค่อนข้างซับซ้อน โครงสร้างเกิดจากการเชื่อมระหว่างยูเรียกับอีเทน จึงได้ชื่อว่าพอลิยูรีเทน ขั้นแรกสารประเภทไดไอโซไซยาเนต (diisocyanate) เช่น tolylene diisocyanate จะทำปฏิกิริยาพอลิเอสเตอร์ เช่น diethylene gylcol ไดโอโซยานิกเอสเตอร์ ต่อมาใช้อีเทอร์แทนเอสเตอร์ เพราะมีราคาถูกกว่า อีเทอร์เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไดไอโซยาเนตกับพอลิออกซิโพรพีลีน (polyoxy propylene) ปฏิกิริยานี้ต้องใช้น้ำด้วย น้ำจะรวมกับไดไอโซไซยาเนต ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซทำให้เจลเกิดเป็นฟองกลายเป็นโฟม ปฏิกิริยานี้จะสมบูรณ์ได้ต้องมีตัวเร่งให้เกิดโฟม สารลดการตึงผิวเพื่อทำให้เกิดเป็นรูขนาดเล็ก และสารขยายตัว เช่น เมทิลีนคลอไรด์

โฟมพอลิยูรีเทน

มีความหนาแน่น และความยืดหยุ่นแตกต่างกันมาก ไม่มีกลิ่น มีความต้านทานต่อน้ำมัน ไขมัน เชื้อรา และการเกิดการเติม ออกซิเจน ใช้เป็นวัสดุกันกระแทกที่มีประสิทธิภาพสูง และมีรูปร่างตาม แม่พิมพ์ หลังจากนั้นก็ให้ความเย็นและไล่สารขยายตัวออกไป ถ้าใช้สารขยายตัวเป็นซีเอฟซี แม้ว่าสารนี้จะไม่อยู่ที่โฟมก็จะไปทำลายชั้นโอโซนได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องใช้สารอื่นแทน

สำหรับโฟมพอลิสไตรีนชนิดแผ่น ผลิตโดยการอัดรีดมีความ หนาแน่น 0.05–0.19 กรัม/ซม.3 มีความหนา 0.38–3.8 มิลลิเมตร เมื่อนำมาขึ้นรูปด้วยความร้อน เหมาะสำหรับทำเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้แล้วทิ้ง เช่น ถาดบรรจุอาหารต่างๆ รวมทั้งฟาสต์ฟู้ด กล่องบรรจุไข่ ภาชนะบรรจุ ได้แก่ ถ้วย ชาม ถ้วยน้ำดื่ม ฉลากสำหรับหุ้มขวดแก้ว เป็นต้น

การผลิตโฟมพอลิสไตรีนชนิดแผ่นนั้นจะหลอมเรซิน สารที่ทำให้เกิดนิวเคลียสและสารขยายตัวเข้าด้วยกัน เรซินคือ พอลิสไตรีนที่มีคุณสมบัติในการใช้งานทั่วไป สารที่ทำให้เกิดนิวเคลียสคือ แร่จำพวกแป้ง (talc) หรือส่วนผสมของกรดซิตริกและโซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อให้เกิดเป็นโฟมมีขนาดเซลล์ที่ต้องการและ สม่ำเสมอ สารขยายตัวซึ่งส่วนมากเป็นฟลูโอโรคาร์บอน เช่น ซีเอฟซีนั้นจะใช้สารไฮโดรคาร์บอนประเภทอื่นๆ แทน เช่น บิวเทน เมื่อส่วนผสมหลอมเข้ากันดีแล้วจะอัดรีดออกมาเป็นแผ่นแล้วทำให้เย็น

แม้ว่าการผลิตโฟมพอลิสไตรีนไม่ได้ใช้สารซีเอฟซีแล้วก็ตาม บาง กลุ่มยังต้องการให้มีการติดฉลากว่าผลิตภัณฑ์ไม่ได้ใช้สารซีเอฟซี ในประเทศอังกฤษใช้บรรจุภัณฑ์ทำด้วยโฟมพอลิสไตรีนบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร และเขียนว่า “CFC free” บางกลุ่มไม่ยอมรับบรรจุภัณฑ์นี้เพราะย่อยสลายไม่ได้ โฟมชนิดนี้มักจะนำไปทำลายโดยใช้ถมที่หรือเผาทิ้ง เนื่องจากโฟมมีคุณสมบัติเฉื่อยและแตกง่าย จึงไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำในดิน แต่ถ้าเผาจะได้น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารเคมีอื่นๆ

โฟมพอลิเอทิลีน เป็นวัสดุที่แข็งปานกลาง เซลล์ปิด ทนต่อสภาพ ลมฟ้าอากาศได้ดี ทนต่อสารเคมีและสารละลาย ไม่เสียหายเมื่อถูกกรดหรือด่าง แต่อาจได้รับความเสียหายเมื่อถูกสารเติมออกซิเจนที่อุณหภูมิสูง

Credit: mew6.com

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

PET Plastic Information

PET Plastic Info

Polyethylene Terephthalate Plastic Containers

Characteristics of PET

PET

Other Characteristics of PET

PET (Polyethylene Terephthalate) Plastics are generally clear, tough and are a good barrier to gas and moisture. PET also has a good resistance to heat.

PET for Packaging

PET is a good choice for product packaging because of its many desirable characteristics. PET is available in a wide range of colors shapes and sizes. Darker colored PET plastic containers may be best for blocking UV rays from light sensitive materials. PET is highly resistant to dilute acids, oils, and alcohols.

Recycling

PET can be identified easily by locating its recycling code symbol. PET is denoted by the familiar triangular shaped arrows with the number 1 in the center. PET can be recycled into many other products besides bottles and jars, other recycled PET products include ski coat fibers, fleece vest as well as sleeping bag lining.

PET’s Role in History

PET has been used for more then just bottles throughout the years. During WWII it was used as a coating for underwater cables. PET lightweight nature made it a great material to use to insulate radars, which helped to reduce the weight of the radars.

Credit: sks-bottle.com

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

Bioplastic: Current Trends and Future Prospects in Thailand

Bioplastic is the plastic derived from plant – based materials or other renewable resources through fermentation process. This process requires low energy input and produces the plastic with the ability to degrade when being composted, resulting in carbon dioxide and water as the end products. In fact, bioplastic has become one of the most innovative materials which answer to an increasing demand for more environmentally friendly solutions. Around the world, there is a great awareness in searching for new raw materials or polymers to improve the quality and functionality of bioplastic so that they can replace the conventional plastics that are produced by petrochemical industries.

Thailand is an agricultural country with various biomass materials and agricultural products including rice, sugarcane, cassava, corn, cellulose, and palm available. These products contain abundant composition of either starch (carbohydrates), sugar (glucose), or fibers (cellulose). All of which can be used as feedstock for the production of bioplastic monomers such as lactic acid and succinic acid. Favored with the price competitiveness and strength in the cultivation techniques, Thailand is clearly standing at the prime spot. In addition, Thailand’s plastic industry is a full cycle mature industry sector with a world class potential because Thailand has an active molding machinery production sub-sector, including die and mold machinery manufacture. Nonetheless, to date, there is no complete line bioplastic industry existing in Thailand. Only Purac Biochem B.V. produces lactic acid, a monomer for polylactic acid, at the annual capacity of 100,000 metric ton. To expedite bioplastic industry in Thailand, the national roadmap for the development of bioplastic industry has been implemented since 2008. Since then many researchers from the universities through the private sectors have been encouraged by this policy to develop the upstream technology including feedstock pretreatment and fermentation in order to increase the production of monomer for bioplastic from the biomass locally available. The first bioplastic production facility is expected by 2013. This presentation will review the current technological trends and the future prospects in bioplastic production in Thailand.

Credit: Thongchul, N., Chulalongkorn University

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในรูปแบบของใช้ในบ้าน เครื่องนุ่งห่ม วัสดุทางการแพทย์ วัสดุอาคาร รวมไปถึงการใช้เพื่อบรรจุอาหาร เนื่องด้วยความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ท่านทราบถึงความแตกต่างขององค์ประกอบ วิธีการใช้งานที่เหมาะสม และอันตรายของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากน้อยเพียงใด

ผลิตภัณฑ์พลาสติกสามารถแบ่งตามชนิดของพลาสติกได้เป็น 7 ชนิด มีการแสดงไว้บนผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในเรื่องการคัดแยกพลาสติกสำหรับการรีไซเคิล ลักษณะสัญลักษณ์คือ ลูกศรวิ่งวนเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีเลขกำกับอยู่ภายใน และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ฐานของสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “รหัสพลาสติก” กำหนดโดย NA Society of the Plastics Industry ในปี ค.ศ. 1988

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์พลาสติกแต่ละชนิด

  1. พลาสติกโพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท (Polyethylene terephthalate) หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า เพท (PET) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเนื้อใส (A-PET) และกลุ่มที่เป็นผลึกสีขาว (C-PET)ตัวอย่างการนำไปใช้: น้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร ถุงขนมขบเคี้ยวข้อควรระวัง: 
    • ขวดบรรจุน้ำดื่มเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อใช้เพียงครั้งเดียว ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้นำมาทำความสะอาดใหม่โดยใช้ความร้อนสูงหรือขัดถูแล้วนำมาใช้ซ้ำ ขวดที่ใช้แล้วควรนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่มากกว่าการนำกลับมาใช้ซ้ำ แม้ว่าการใช้ซ้ำนั้นอาจจะไม่มีอันตรายจากสารที่หลุดออกมา แต่ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เนื่องจากการทำความสะอาดที่ไม่ดีพอ
    • สารอะซิทัลดีไฮด์สามารถแพร่ออขวดพลาสติกกจากผลิตภัณฑ์เข้าไปปนเปื้อนของที่บรรจุอยู่ในภาชนะได้ ซึ่งอะซีทัลดีไฮด์เป็นสารที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริการะบุว่า เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในคน รวมทั้งอาจส่งผลลบต่อพัฒนาการทางสมอง
  2. พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High density polyethylene, HDPE)ตัวอย่างการนำไปใช้: เนื่องจากเป็นพลาสติกที่ทนทานต่อสารทำละลายต่างๆ ทำให้มีการนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นภาชนะบรรจุต่างๆ เช่น ขวดพลาสติก ทัปเปอร์แวร์ ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดนม ถังน้ำมันสำหรับยานพาหนะ โต๊ะและเก้าอี้แบบพับได้ ถุงพลาสติกข้อควรระวัง: การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสีควรระมัดระวังอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป ซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและแคดเมียม สารทั้งสองตัวนี้สามารถแพร่ออกมาจากพลาสติกได้
  3. พลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) หรือที่เรียกกันว่า พีวีซี (PVC)ตัวอย่างการนำไปใช้: พลาสติกห่ออาหาร ถุงหูหิ้ว (ขนาดเล็กนิยมบรรจุอาหารประเภททอด เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขก) ขวดบรรจุชนิดบีบ (เช่น น้ำมันพืช) กล่องอุปกรณ์ต่างๆ ภาชนะบรรจุเครื่องดื่มอาหาร ตะแกรงคว่ำจานข้อควรระวัง: สารเติมแต่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพพีวีซี อาทิเช่น สารพลาสติกไซเซอร์และสารอื่น ๆ ได้แก่ พาทาเลท สารแต่งสีซึ่งมีตะกั่วและแคดเมียม สารทำให้คงตัว (stabilizers) เช่น แบเรียม สามารถแพร่กระจายออกมาได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการห่ออาหารขณะร้อนด้วยพลาสติกอุ่นอาหารโดยมีพลาสติกที่ห่ออาหารอยู่ และการใส่อาหารร้อนในถุงหูหิ้วโดยตรง
  4. พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene, LDPE)ตัวอย่างการนำไปใช้: ถุงหูหิ้ว ขวดพลาสติกบางชนิด และที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหารข้อควรระวัง:
    • การใช้ถุงพลาสติกที่เป็นสีควรระมัดระวังอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป ซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและแคดเมียม สารทั้งสองตัวนี้สามารถแพร่ออกมาจากพลาสติกได้
    • ถุงเย็น มีลักษณะขุ่นและยืดหยุ่นได้ดีกว่าถุงร้อน ทนความเย็นได้ถึง -70 องศาเซลเซียส แต่ทนความร้อนได้ไม่มากนัก
  5. พลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP)ตัวอย่างการนำไปใช้: ถุงร้อนสำหรับบรรจุอาหาร ขวดใส่เครื่องดื่ม ซองขนม ภาชนะบรรจุโยเกิร์ต หลอดดูด ขวดนมเด็กข้อควรระวัง:
    • สามารถติดไฟได้ง่าย จึงต้องมีการเติมสารหน่วงไฟเพื่อป้องกันการติดไฟในกระบวนการผลิต ซึ่งสารหน่วงไฟที่เติมจะเป็นพวกโบรมิเนเตตและคลอริเนเตต สารกลุ่มนี้ถ้าไหม้ไฟแล้วจะให้สารไดออกซิน (dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
    • สารเม็ดสีที่มีตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งผสมลงไปเพื่อทำให้พลาสติกมีสีต่าง ๆ ตะกั่วและแคดเมียมสามารถแพร่กระจายออกมาจากพลาสติกได้
    • ถุงร้อน มีลักษณะใสกว่าถุงเย็นและไม่มีความยืดหยุ่น สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 100 องศาเซลเซียส (จุดเดือดของน้ำ) และทนไขมันได้ดี แต่สามารถบรรจุอาหารเย็นได้เพียง 0 องศาเซลเซียส
  6. พลาสติกโพลีสไตรีน (Polystyrene, PS) หรือที่เรียกกันว่า โฟมตัวอย่างการนำไปใช้: บรรจุรองรับการกระแทก กล่องสำหรับบรรจุอาหาร พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง (เช่น ถ้วย ช้อน ส้อม มีด)ข้อควรระวัง:
    • การใช้ภาชนะโฟมใส่อาหารที่ร้อนหรือนำไปเข้าไมโครเวฟ สามารถทำให้สไตรีนโมโนเมอร์ในโฟมละลายออกมาผสมในอาหารได้ ซึ่งมีผลต่อสมอง ระบบประสาท เม็ดเลือดแดง ตับ ไต และอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย หรือทำให้สภาพการทำงานของตับลดลง
    • การเผาโฟมทำให้เกิดก๊าซพิษสไตรีนออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของของมะเร็ง
    • การรีไซเคิลโฟมมีปัญหาสำคัญในเรื่องไม่คุ้มทุน
  7. พลาสติกชนิดอื่นๆ เช่น โพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate, PC)ตัวอย่างการนำไปใช้: เนื่องจากโพลีคาร์บอเนตเป็นพลาสติกที่มีลักษณะใส แข็ง และทนความร้อนจึงนำมาทำเป็นภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถเก็บในตู้เย็นและนำเข้าไมโครเวฟได้ด้วย เช่น เหยือกน้ำ ขวดน้ำขนาดบรรจุ 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา ขวดนม รวมทั้งจำพวกถ้วย ช้อนส้อม มีดชนิดใสข้อควรระวัง: มีการศึกษาพบว่าขวดน้ำดื่มจะแพร่สารบิสฟีนอล เอ (Bisphenol A, BPA) ออกมามากกว่าปกติถึง 55 เท่าเมื่อใช้บรรจุน้ำร้อน ไม่ว่าจะเป็นขวดเก่าหรือขวดใหม่ก็ตาม ซึ่งสารนี้มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ของเพศหญิง ส่งผลกระทบทำให้สเปริม์ลดลง เปลี่ยนพฤติกรรมเพศ นอกจากนี้ยังพบว่าเหนี่ยวนำให้เกิดการต้านทานอินซูลิน (insulin) และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วย ในเด็กทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ

พลาสติกเกือบทุกชนิดก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตมีการปล่อยสารพิษเข้าไปในอากาศและน้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษ และต้องอาศัยพลังงานสูงกว่าการผลิตแก้ว นอกจากนี้พลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิลจะมีคุณภาพด้อยลงจากผลิตภัณฑ์ก่อนการรีไซเคิล ดังนั้นจึงไม่สามารถนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เดิมได้ ต้องทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพลงไป ตัวอย่างเช่น โฟมบรรจุอาหารรีไซเคิลเป็นโฟมกันกระแทก (ไม่สามารถกลับมาใส่อาหารได้อีก) ซึ่งในกระบวนการรีไซเคิลนี้ต้องมีการเพิ่มวัตถุดิบหรือต้นทุนด้านอื่นๆอีกด้วย ในขณะที่หากนำไปย่อยสลายจะทำได้ยากด้วยวิธีฝังกลบ ส่วนการเผาขยะพลาสติกชนิดพีวีซี จะเป็นตัวก่อให้เกิดสารไดออกซิน ยกเว้นต้องใช้เตาเผาอุณหภูมิสูงถึง 1300 องศาเซลเซียสี้

ถุงพลาสติกอีกประเภทหนึ่งคือ ถุงพลาสติกชีวภาพ หรือพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยและคิดค้นถุงพลาสติกที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตได้จากแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพด พลาสติกชนิดนี้เมื่อถูกฝังกลบในสภาวะที่เหมาะสมจะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์และแบคทีเรียในธรรมชาติ เมื่อย่อยสลายหมดแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำ มวลชีวภาพ ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตของพืช

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า การใช้พลาสติกควรเลือกให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนั้นๆ เพื่อลดอันตายที่อาจเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญคือควรใช้เท่าที่จำเป็น เลือกใช้วัสดุอื่นที่สามารถทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น แก้ว หรือ ถุงพลาสติกชีวภาพ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมของเราด้วย

Credit: pharmacy.mahidol.ac.th

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ความคิดสร้างสรรค์สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้า

Credit: creativeguerrillamarketing.com

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

Cap and Neck Finishes

A container’s neck finish holds the cap, stopper, or closure with protruding threads. A container and its corresponding cap must have matching finishes. For example, a 24/400 bottle will only accept a 24/400 closure.Screw thread or continuous thread closure sizes are expressed with two numbers separated by a hypen or slash. The first number refers to the millimeter diameter measured across the inside of the cap’s opening or the outside of the bottle’s threads. The second number refers to the thread style, “GPI” or “SPI” finish. The Glass Packaging Institute (GPI) and Society of the Plastics Industry (SPI) are responsible for establishing uniform standards for glass and plastic container neck finishes. The closure industry does not necessarily adhere to the same standards, so it is often best practice to purchase containers and caps from the same manufacturer when possible.

  • “T” Dimension

    The outside diameter of the thread. The tolerance range of the “T” dimension will determine the mate between bottle and closure.

  • “E” Dimension

    The outside diameter of the neck. The difference between the “E” and “T” dimensions divided by two determines the thread depth.

  • “I” Dimension

    The inner diameter of the bottle neck. Specifications require a minimum “I” to allow sufficient clearance for filling tubes. Linerless closures, with a plug or land seal, and dispensing plugs and fitments require a controlled “I” dimension for a proper fit.

  • “S” Dimension

    Measured from the top of the finish to the top edge of the first thread. The “S” dimension is the key factor that determines the orientation of the closure to the bottle and the amount of thread engagement between the bottle and cap.

  • “H” Dimension

    The height of the neck finish. Measured from the top of the neck to the point where the diameter “T”, extended down, intersects the shoulder.

Common GPI / SPI Neck Finishes

NS

How to Measure a Neck Finish

Measure Cap FinishMeasure Cap Finish
Cap Measurement and Bottle Measurement

To find a cap’s diameter, measure from one side of the inner wall to the opposite side. Calculate a bottle’s neck finish by measuring the diameter of the outermost threads. The resulting millimeter measurement will be the “T” dimension.

Then, see how many times the threads pass one another to determine the finish.
(ex. 24 mm “T” dimension with 1.5 thread turns = 24/410 neck finish)

Credit: sks-bottle.com

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

So…just what are plastics?

Plastics 101

Plastics. From popular culture (“There’s a great future in plastics” from The Graduate), to seat belts, to drive through restaurant windows, plastics have been an intrinsic part of our lives for decades. But ask people on the street—“What are plastics?”—and you’ll get an wide range of vague and often contradictory answers.
A modern innovation, plastics have been making products work better for little more than a century. World War II created soaring demand for plastics to replace scarce traditional materials, and the consumer boom of the 50s and 60s cemented plastics’ role in the economy and our everyday lives.
So how are they made, and what are they made from? Let’s find out what these modern materials are all about…

What are plastics?

The basics are straightforward. Think back to high school science lessons about atoms and molecules (groups of atoms). Plastics are chains of certain molecules linked together. These chains are known as polymers, which is why many plastics begin with “poly,” such as polyethylene, polystyrene and polypropylene. For example, the plastic polyethylene is simply molecules of ethylene strung together, like beads on a necklace. Polymers can be very simple, made of only molecules of carbon and hydrogen, and sometimes they also have molecules such as oxygen, nitrogen, sulfur, chlorine, fluorine, phosphorous, or silicon. The term “plastics” encompasses all these various polymers.

Sources of plastics (feedstocks)

The raw materials for plastics (often called feedstocks) come from many places, including plants. Some plastics even use salt as a raw material. But most of today’s plastics are made from the hydrocarbons that are readily available in natural gas, oil, and coal. A growing amount of plastics are made from plant feedstocks, such as sugar cane or corn (see bioplastics below). The choice of feedstocks is driven by numerous factors, including efficiency, quality, availability, and environmental factors. In the United States, approximately 70 percent of plastics are made from North American natural gas, a resource with growing domestic reserves. » learn more about the lifecycle of plastics

How are plastics made?

Plastics begin their lives in a refinery or chemical facility as feedstocks that are processed into polymers. Many polymers are then shaped into small pellets that can be shipped all over the country to be made into plastic consumer products, including packaging.
It’s a sizeable enterprise—the U.S. plastics industry employs approximately one million workers and contributes $375 billion to the economy.
Many of the companies that produce feedstocks and plastics belong to Responsible Care®, the chemical industry’s performance initiative on safe, responsible and sustainable management of their products (every American Chemistry Council member company belongs to Responsible Care). » learn more on how plastics are made and where they are used, including packaging

Bioplastics

A growing amount of plastics is made from feedstocks that are grown, such as sugar cane or corn. In fact, the first plastics including cellophane were made from bio-based materials—these plastics were largely eclipsed by more efficient plastics. Bioplastics are reemerging today as scientists develop more efficient ways to produce them, as well as in response to concern over the use of finite resources, primarily natural gas and oil. Although bioplastics represent an important area of innovation, attention should be paid to their sustainability considerations (environmental, economic and social), such as water use, recyclability, the effects of farming, greenhouse gas emissions, food supply, and the cost of food.


And there are common misconceptions regarding bioplastics. Many people believe—incorrectly—that all bioplastics are biodegradable; however, the use of plant feedstocks does not necessarily lead to biodegradable plastics. For example, PET plastic made from plant feedstocks has the same chemical formula as PET made from natural gas and oil feedstocks. Bio-based PET plastic is not biodegradable, but it is recyclable. The bioplastic PLA, on the other hand, can biodegrade in a commercial composting facility—but it likely will not be accepted in many of today’s recycling programs (current volumes of PLA are too low to efficiently separate and recycle). » learn more about bioplastics and biodegradability/recycling

Credit: Plasticpackagingfacts.org

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

Checklist ของบรรจุภัณฑ์ที่ดี

ข้อควรรู้ในการออกแบบพัฒนา บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของท่าน

คราวนี้ขออนุญาตเข้าเรื่องว่าด้วยรายละเอียด และข้อควรรู้ในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของท่านไม่ว่าจะดำเนินการด้วยตัวท่านเอง หรือว่าจ้างนักออกแบบเป็นผู้ดำเนินการให้

จะขอเริ่มด้วยคุณสมบัติอันพึงประสงค์ 5 ข้อของบรรจุภัณฑ์ หรืออาจเรียกว่า 5 C Checklist เพื่อให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่จะพัฒนาขึ้น นอกจากสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภทแล้วยังมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บรรจุภัณฑ์ที่ดีพึงมี
Checklist

1. Contain and Protect การบรรจุและคุ้มครอง

หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์ คือ การคุ้มครองปกป้องสินค้าที่มีอยู่ภายในให้ถึงมือผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัย บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รักษาคุณภาพของสินค้า รวมถึงกระบวนการในการจัดส่งหรือโลจิสติกส์ เช่น ขนาด น้ำหนัก ความเหมาะสม ความสะดวกในการจัดเก็บเป็นต้น

2. Communication การสื่อสาร

หน้าที่ต่อมา คือ การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในอย่างชัดเจนทั้งข้อมูลที่บังคับให้แสดงตามกฏหมาย เช่น ส่วนผสม ส่วนประกอบต่างๆ จนไปถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการตลาด เช่น จุดเด่น หรือข้อดีต่างๆ ของสินค้า

3. Convenience ความสะดวกสบาย

เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้าและนำมาซึ่งการซื้อซ้ำ (Repeat Buy) เช่นลักษณะขวดที่หยิบถือสะดวก เทได้ง่ายหรือกล่องที่สามารถหิ้วพกพาได้สะดวก ปัจจัยด้านความสะดวกสบายถือเป็น Function ซึ่งอาจมองเห็นไม่ชัดเจน ณ จุดขาย แต่จะช่วยให้เกิดความพึงพอใจในระยะยาว ซึ่งช่วยเพิ่มความแตกต่างให้กับต้วผลิตภัณฑ์

4.Consumer Appeal แรงดึงดูดใจ

ถือเป็นจุดสำคัญที่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการซื้อสินค้าหรือที่กล่าวกันทั่วไปว่าบรรจุภัณฑ์ คือ นักขาย ไร้เสียง (Silence Salesman) การสร้างแรงดึงดูดใจเกิดได้จาก 2 ส่วน คือ

4.1 ลักษณะรูปแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดน้ำผลไม้ที่มีลักษณะเหมือนลูกผลไม้ กล่องกระดาษที่มีรูปทรงเตะตา

4.2 รูปแบบของลวดลายหรือกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ เช่น ภาพ สี ตัวอักษรที่มีบุคลิกโดดเด่น รวมไปถึงข้อความที่กระตุ้นอยากให้ทดลองสินค้า เช่น Try Me, Have a Bite

5. Conserve Environment การรักษาสภาวะแวดล้อม

เป็นเรื่องที่อาจจะยังไม่ได้รับความสนใจนัก แต่เป็นกระแสที่กำลังมาแรงโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ดีควรใช้วัสดุที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม นำไปหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ และที่สำคัญไม่ควรใช้วัสดุสิ้นเปลืองเกินไป

เห็นได้ว่าการ Checklist ในรายละเอียดของการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์จะช่วยให้ท่านได้สำรวจข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่พึงมีได้อย่างครบถ้วน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการแข่งขันในปัจจุบันที่ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินตลาด

Credit: VayoKnowledge.com

 

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

10 กลยุทธ์สำหรับการบรรจุภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จ

10 strategies for successful packaging

1. ทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณโดดเด่น Make your product stand out
2. แตกต่าง Break with convention
3. ผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ Products with purpose
4. เพิ่มบุคลิกภาพ Add personality
5. รู้สึกดี Feel-good factor
6. ง่าย Keep it simple
7. ตราสินค้า Tiered branding
8. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง The cost of transport
9. ความเร็ว Speed to shelf
10. ป้องกันตัวเอง Protect yourself

Credit: computerarts.co.uk

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

การทดสอบบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อความปลอดภัย

FoodPlastic

ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์พลาสติกได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในธุรกิจสินค้าอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์อาหารส่งออก ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาหารเสื่อมสภาพ การสูญเสียคุณค่าทางอาหาร ตลอดจนเพื่อความสวยงาม และความสะดวกในการขนส่ง ผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก ตลอดจนโรงงานผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ควรคำนึงถึงการใช้และการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้มีคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานของประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรป ซึ่งประเทศไทยได้ส่งสินค้าอาหารไปจำหน่ายมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

สหภาพยุโรปได้ออกระเบียบเกี่ยวกับวัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสอาหารใน Directive 2002/72/EC relating to plastic materials and articles intended to come into contact with foodstuffs “ กำหนดให้วัสดุบรรจุภัณฑ์และสารที่สัมผัสกับอาหารทั้งโดยตรงและ โดยอ้อม ไม่ถ่ายเทสารในวัสดุบรรจุภัณฑ์นั้นเข้าสู่อาหารในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในองค์ประกอบของอาหาร หรือไม่ทำให้ลักษณะทางกายภาพประเภท รูป รส กลิ่น สี เกิดการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งในระเบียบนี้ ประกาศห้ามใช้สาร azodicarbonamide ในการผลิตอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีผลทำให้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในผู้บริโภค และได้กำหนดกลุ่มสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ กลุ่มสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ในระยะเวลาหนึ่งและต้องเลิกใช้ ซึ่งจะมีการประกาศอนุญาตการใช้ชนิดใหม่ ๆ โดยระบุการใช้ที่ชัดเจน ทั้งนี้ ทางสหภาพยุโรปได้มีการแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าวล่าสุดครั้งที่ 4 ได้มีการบังคับใช้กฎดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2007 เป็นต้นไป หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จากเวบไซต์ของทางสหภาพ ยุโรป (EUROPA) หรือติดตามจาก www.thaieurope.net

พลาสติกที่สัมผัสอาหาร ในที่นี้ครอบคลุมถึง พลาสติกชั้นเดียว, พลาสติกชนิดหลาย ชั้น (plastic multi-layer material and articles) และพลาสติกที่มีลักษณะเป็นชั้นหรือใช้เคลือบประกอบกับฝาปะเก็น (coating, forming gasket in lids) ซึ่งในกระบวนการผลิตพลาสติกมีการใช้สารตั้งต้น (starting substance, monomer) เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์, 1 ,3- butadiene และมีการเติมสารเติมแต่งเพื่อให้พลาสติกมีคุณสมบัติตามต้องการ เช่น สาร phthalate, plasticizer สารเหล่านี้มีมวลโมเลกุลน้อย สามารถเคลื่อนย้ายจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกลงสู่อาหารได้ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค

Credit: barascientific.com

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ใช้วัสดุพลาสติกทำบรรจุภัณฑ์

พลาสติกเป็นวัสดุที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก คุณประโยชน์ของพลาสติก คือ มีน้ำหนักเบาป้องกันการซึมผ่านของอากาศ และก๊าซได้ระดับหนึ่งสามารถต่อต้านการทำลายของแบคทีเรียและเชื้อรา คุณสมบัติหลายอย่างที่สามารถเลือกใช้งานที่เหมาะสม พลาสติกบางชนิดยังเป็นฉนวนกันความร้อนอีกด้วย ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกได้แก่ ฟิล์มพลาสติกรัดรูป ขวด ถาด กล่อง และโฟม ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติก

พลาสติกเป็นสารสังเคราะห์จำพวกโพลิเมอร์ มีหลายชนิดและมีคุณสมบัติที่ แตกต่างกันออกไป เช่นกันการซึมของน้ำ อากาศ ไขมัน ทนต่อความเย็น และความร้อน ทนต่อกรด หรือด่าง ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า และความร้อน มีลักษณะอ่อนและแข็ง และมีหลายรูปทรง

plasticcolour

พลาสติกแบ่งตามรูปแบบได้ 2 ประเภทคือ

1. ภาชนะพลาสติก
1.1 ขวดพลาสติก
1.1.1 ขวดทำจากพอลลิไวนิลคลอไรด์(PVC) ใช้บรรจุน้ำมัน น้ำผลไม้
1.1.2 ขวดทำจากพอลลิเอทีลีน ( PE ) ชนิดความหนาแน่นสูงใช้บรรจุนม น้ำดื่ม ยา สารเคมี ผงซักฟอก เครื่องสำอาง
1.1.3 ขวดทำจากพอลลิเอสเธอร์ (PET) ใช้บรรจุน้ำอัดลม เบียร์
1.2 ถ้วยพลาสติก ถัวยไอศรีม ถ้วยสังขยา
1.3 ถาดและกล่องพลาสติกแบบมีฝาและไม่มีฝา นิยมใช้บรรจุอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จ
1.4 สกีนแพค (skin pack) และบริสเตอร์แพค(blister pack)เป็นภาชนะพลาสติกที่ทำจากแผ่นพลาสติก ที่ขึ้นรูปด้วยความร้อนแล้วนำมาประกบหรือประกอบกระดาษแข็ง ซึ่งแผ่นพลาสติกดังกล่าวทำมาจากพอลลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ตัวอย่างเช่นเครื่องเขียน แปรงสีฟันเป็นต้น

2. ฟิล์มพลาสติก คือพลาสติกที่เป็นแผ่นบางๆ ใช้ห่อ หรือทำถุง เช่น
2.1 ถุงเย็น ทำมาจากพลาสติกชนิด พอลลิเอทีลีน(PE) ชนิดความหนาแน่นต่ำ(LDPE) ใช้บรรจุของเย็นสามารถบรรจุอาหารแช่แข็งได้
2.2 ถุงร้อน ทำมาจากพลาสติกชนิด พอลลิพอพิลีน(PP) มีลักษณะใสมากหรือ พอลลิเอทีลีน(PE) ชนิดความหนาแน่นสูง(HDPE) ก็ได้
2.3 ถุงหูหิ้ว ทำมาจากพลาสติกชนิด พอลลิเอทีลีน(PE) ชนิดความหนาแน่นต่ำ(LDPE) และเป็นพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
2.4 ถุงซิป เป็นถุงที่มีปากถุงล็อคได้ทำมาจากพลาสติกชนิด พอลลิเอทีลีน
(PE) ชนิดความหนาแน่นต่ำ(LDPE)
2.5 ถุงพลาสติกหลายชั้นประกบติดกัน บางครั้งเป็นพลาสติกชนิดต่างๆ บางครั้งเป็นพลาสติกกับแผ่นอลูมิเนียม เรียกว่า ลามิเนท (Laminate) ใช้บรรจุอาหารที่สามารถอุ่นด้วยการนำถุงลงต้มในน้ำเดือดได้ ถุงที่สามารถป้องกันไม่ให้อากาศเข้าได้เลย ถุงที่สามารถกันชื้น กันไขมันและกันแสงได้ เป็นต้น
2.6 พลาสติกหดรัดรูป(Shrink Film) ฟิล์มชนิดนี้ จะหดตัวเมื่อได้รับความร้อน ตัวอย่างเช่นพลาสติกหุ้มห่อกล่องนมที่แพคขายคราวละ 6 กล่องเป็นต้น หรือฉลากที่ใช้ระบบการพิมพ์ลงบนฟิล์มชนิดนี้ เช่น ฉลากของขวดโค๊ก เป็นต้น

Credit: crnfe.ac.th

https://www.thaibottle.com/products/

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ ปี 2556

เมื่อพูดถึงกระแสของบรรจุภัณฑ์ ปี 2556 Scott Steele ประธานบริษัท Plastics technology ยังคงให้ความสำคัญกับวิธีการในการปกป้องสินค้าอย่างคุ้มค่า ถึงแม้ภาพลักษณ์ของยี่ห้อสินค้า รูปทรง รูปแบบต่างๆ รวมถึงฟังก์ชั่นการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ต่างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ แต่หลักๆ แล้วต้นทุนยังคงเป็นคำตอบของทุกสิ่ง อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการลดต้นทุนแล้ว ยังมีหลายปัจจัยที่อุตสาหกรรมให้ความสนใจในปี 2556 นี้

การรีไซเคิล – ถึงแม้กระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ยังคงอยู่ในกระแสได้ตลอดเวลา สมาคม American Chemistry Council และ สมาคมผู้ประกอบการรีไซเคิลพลาสติก (The Association of Postconsumer Plastic Recyclers หรือ APR) เปิดเผยสถานการณ์การรีไซเคิลในปี 2555 ว่าเป็นมีการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยสมาคมเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมสามารถผลักดันให้มีการรีไซเคิลเพิ่มขี้นได้ รวมถึงให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคด้านการรีไซเคิลพลาสติก จากรายงานวิจัยจาก The Freedonia Group. คาดว่าสหรัฐอเมริกามีความต้องการเพิ่มปริมาณการรีไซเคิลพลาสติกปีละ 6.5% เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายการรีไซเคิลพลาสติกน้ำหนัก 3500 ล้านปอนด์ภายในปี 2559 ซึ่งการไปถึงเป้าหมายนี้ต้องมีการขับเคลื่อนหลายปัจจัยพร้อมกัน ได้แก่การเน้นย้ำความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน การพัฒนากระบวนการ และค้นหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการรีไซเคิลพลาสติกได้หลากหลายและเปลี่ยนเป็นเม็ดเรซินที่มีคุณภาพสูง รวมถึงพัฒนากระบวนการและขั้นตอนในการเก็บและการแยกขยะ นอกจากนั้นการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลระดับประเทศก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มอัตราการรีไซเคิลได้

ปริมาณการใช้งานพลาสติกชีวภาพที่เพิ่มขึ้น – ถึงแม้พลาสติกชีวภาพมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1% ของยอดจำหน่ายพลาสติกทั้งหมด แต่นักวิจัยการตลาดจาก NanoMarkets คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7% ภายในปี 2563 อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดในการแข่งขันในตลาด พลาสติกชีวภาพต้องมีราคาที่ต่ำลง โดยปัจจุบันพลาสติกชีวภาพมีราคาสูงเป็น 2-3 เท่าตัวของราคาพลาสติกที่มาจากปิโตรเลียมเนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงมากนั่นเอง การลดต้นทุนสามารถทำได้ถ้ามีปริมาณการใช้งานในสเกลใหญ่ขี้น และการใช้วัตถุดิบราคาถูกในกระบวนการผลิต เช่น การใช้แป้งมันสำปะหลังผลิต PLA ชีวภาพ (Bio-poly lactic acid) ซึ่งสามารถลดต้นทุนของวัตถุดิบลงได้ 70% นอกจากนั้นการปรับปรุงสมบัติเชิงเทคนิคของพลาสติกชีวภาพเพื่อให้ใช้งานได้กว้างขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ สำหรับขวดน้ำพลาสติกจะมีการใช้ PET ชีวภาพ (Bio-PET) แทนพลาสติกที่มาจากฟอสซิลทั้งหมด รวมถึงจะมีการนำโฟม PLA เข้าไปใช้ในงานบรรจุภัณฑ์อาหารด้วย

การเปิดตลาดเป็นกุญแจสำคัญ – บริษัท PCI Films Consulting ระบุ 13 ตลาดที่น่าสนใจสำหรับงานบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (Flexible packaging) ได้แก่ โปแลนด์ รัสเซีย ตรุกรี เม็กซิโก บราซิล อินเดีย อินโดนิเซีย ไทย เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไนจิเรียและแอฟริกาใต้ ซึ่งตลาดเหล่านี้มีมูลค่ารวมกันถึง 14,000 ล้านดอลลาร์ และมีการเติบโตเกือบ 70% ตั้งแต่ปี 2549 โดยปัจจุบันคิดเป็น 20% ของความต้องการในตลาดโลก เป็นที่น่าสนใจว่าถึงแม้หลายประเทศจะเจอวิกฤตเศรษฐกิจแต่ยังสามารถรับสถานการณ์ได้ดีด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 11% ต่อปีตั้งแต่ปี 2549  อีกเหตุผลหนึ่งที่งานบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนนี้มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรและจำนวนซุปเปอร์มาร์เกตที่เพิ่มขึ้น

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของบรรจุภัณฑ์แบบ Pouches – Pouches เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นถุงทนความร้อน จากรายงานวิจัยของบริษัท Mintel International.ในปี 2553 ที่ผ่านมามีผลิตภัณฑ์ใหม่ถึง 1210 รายการที่บรรจุในถุง Pouches ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 885 รายการในปี 2550 นอกจากนั้นบริษัท Freedonia Group ยังเปิดเผยว่าความต้องการของบรรจุภัณฑ์แบบ Pouches ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 5.1% ต่อปีจนเป็น 8800 ล้านดอลลาร์ ในปี 2559. สำหรับความต้องการบรรจุภัณฑ์ Pouches ชนิดตั้งได้ (Stand-up pouch) คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.2% ทุกปีและมีมูลค่า 2000 ล้านดอลลาร์ในปี 2559 โดยมีอุตสาหกรรมอาหารเป็นตลาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ Pouches มีข้อได้เปรียบในเรื่องน้ำหนักเบา ประหยัดค่าขนส่งและลดปริมาณการใช้วัสดุเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบแข็ง ในยุโรปกำลังนิยมใช้บรรจุภัณฑ์ Pouches ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงและน้ำผลไม้สำหรับเด็ก จากรายงานวิจัยยังพบว่าผู้บริโภคกลุ่มอายุ 18-25 ปีคิดว่าการใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ในกระป๋องเป็นเรื่องเชยและชื่นชอบบรรจุภัณฑ์ Pouches มากกว่า

Credit: plastic.oie.go.th/ReadArticle.aspx?id=7455

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

พลาสติกจากข้าวโพด

เมื่อกล่าวถึงพลาสติก น่าจะเป็นที่แน่ชัดว่าทุกคนคงรู้จัก และเคยสัมผัสกับวัสดุชนิดนี้ เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในเกือบจะทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน พลาสติกเป็นสารพอลิเมอร์ (polymer) ซึ่งสังเคราะห์ได้จากการที่นำเอาหน่วยเล็กๆ ของสารประกอบที่มีโครงสร้างเหมือนกัน ที่เรียกว่ามอนอเมอร์ (monomer) มาเรียงต่อเป็นสายโซ่ยาว ซึ่งหากเปลี่ยนชนิดของมอนอเมอร์ที่ใช้ ก็จะได้สารพอลิเมอร์ที่มีชื่อ และคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น หากใช้สไตรีน (styrene) เป็นมอนอเมอร์ ก็สามารถสังเคราะห์เป็นพอลิสไตรีน (polystyrene) ที่ใช้ผลิตโฟม หรือแก้วกาแฟ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสารมอนอเมอร์ชนิดอื่นอีกมากมายที่นิยมนำมาผลิตเป็นพลาสติก ตัวอย่างเช่น ethylene และ propylene (ถุงพลาสติก), vinyl chloride (ท่อประปา), ethylene terephthalate (ขวด PET) ซึ่งสารมอนอเมอร์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบ ทั้งจากการกลั่นแยกปิโตรเลียมโดยตรง หรือนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีอื่นก็ได้ เนื่องจากพลาสติกมีคุณสมบัติที่หลากหลาย และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงทำให้อัตราการผลิตและบริโภควัสดุชนิดนี้มีสูงมาก

.แต่อย่างไรก็ตามพลาสติกที่ผลิตได้เหล่านี้ก็กำลังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้น เนื่องจากอัตราการกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้วไม่สมดุลกับอัตราการผลิตนั่นเอง สืบเนื่องจากกระบวนการกำจัดวัสดุเหล่านี้หลังการใช้งานนั้นทำได้ยาก เพราะพลาสติกสามารถย่อยสลายได้ยากมาก หรือบางชนิดก็ไม่สามารถสลายตัวได้เลย แม้ในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ให้นำพลาสติกบางชนิดกลับมาใช้ใหม่ โดยกระบวนการ recycle แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอกับอัตราการผลิตและการบริโภค นอกจากนี้วิธีการอื่นๆที่สามารถนำมาใช้เพื่อจัดการกับวัสดุเหล่านี้ เช่น การฝังกลบ การเผา ก็ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีก เช่น การรั่วไหลของสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ หรือการเกิดก๊าซจากการเผาไหม้ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

คุณค่าทางทางเศรษฐกิจก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณา นอกจากปัญหาด้านอัตราการบริโภค และการกำจัดขยะพลาสติกดังที่กล่าวมาแล้ว ราคาของปิโตรเลียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นต่อไปอีกในอนาคต อันเนื่องมาจากหลักการตลาดของอุปสงค์และอุปทาน เพราะปริมาณปิโตรเลียมสำรองในธรรมชาติลดลง แต่กระบวนการเกิดขึ้นใหม่ตามธรรมชาติต้องใช้เวลานับร้อยๆปีในการทับถมของซากสิ่งมีชีวิต ซึ่งไม่สมดุลกับอัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น จึงมีการคาดหมายว่าปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจะหมดไปจากโลกภายในแวลาอีกไม่เกิน 100 ปีข้างหน้า สาเหตุเหล่านี้ จึงเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการศึกษาค้นคว้าเพื่อผลิตวัสดุที่มีสมบัติทางกายภาพเทียบเคียงกับพลาสติก แต่สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบที่ไม่ได้มาจากปิโตรเลียม และมีสมบัติที่สำคัญคือ สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันมีการ ผลิตพอลิเมอร์ตามวัตถุประสงค์นี้ได้หลายชนิด

ในโอกาสนี้จะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับพอลิแล็คติก แอสิด (polylactic acid) หรือพอลิแล็คไทด์ (polylactide) ก่อน เนื่องจากเป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าอย่างแพร่หลายในขณะนี้ โดยพอลิเมอร์ชนิดนี้สังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบทางการเกษตรจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรืออ้อย เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้ข้าวโพดเป็นหลัก กระบวนการสังเคราะห์พอลิแล็คติก แอสิดถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกโดยนักวิจัยจากบริษัท Dupont ในสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ W.H. Carothers เมื่อปี ค.ศ. 1932 หลังจากนั้นก็มีการศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตพอลิเมอร์ชนิดนี้ทางการค้าหลายบริษัท ที่สำคัญ คือ บริษัท Cargill Dow ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัท Mitsui Chemical ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

Credit: vcharkarn.com/varticle/277

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

สูตรและวิธีการทำแชมพูสระผมสมุนไพร

หากคุณกำลังมีปัญหาเส้นผมบาง รากผมไม่แข็งแรง ผมหลุดร่วงง่าย เป็นรังแค คันศีรษะอยู่บ้างหรือเปล่า? แล้วคุณใช้แชมพูอะไรสระผม? คุณรู้ไหมว่าแชมพูสระผมที่คุณใช้อยู่นั้นเขาใช้อะไรเป็นส่วนผสมบ้าง แล้วที่เขาโฆษณาว่าเป็น”แชมพูสมุนไพร” หรือ “มีส่วนผสมที่สกัดจากธรรมชาติ” นั้น เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน? แล้วมันเหมาะสมกับคุณหรือเปล่า? ถ้าคุณตอบคำถามนี้ไม่ได้หรือไม่แน่ใจ อยากให้คุณอ่านบทความนี้และลองหาโอกาสมาเรียนรู้วิธีการทำแชมพูสมุนไพร สูตรที่เหมาะสมกับตัวเราเองกันดีกว่า เผื่อคุณจะได้คำตอบที่ดีกว่าเดิม

ก่อนอื่นควรทราบถึงคุณสมบัติของสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการดูแลหรือบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ และเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพของเส้นผมและหนังศีรษะของตัวเราเอง ได้แก่

  • ผลมะกรูด น้ำจากผลมะกรูดจะมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยสลายไขมันและชะล้างสิ่งสกปรกที่เกาะบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ดี (แต่ไม่ควรใช้น้ำมะกรูดชะโลมบนเส้นผมโดยตรงเป็นประจำ เพราะจะทำให้ผมจะเปราะ ขาดง่าย เพราะน้ำมะกรูดเป็นกรดค่อนข้างมาก มีค่า pH ประมาณ 3.5)
  • ผิวมะกรูด น้ำมันจากเปลือกผลมะกรูดมีกลิ่นหอม  และช่วยบำรุงให้เส้นผมเป็นเงางาม
  • ผลมะเฟือง น้ำจากผลมะเฟืองมีฤทธิ์เป็นกรด (ค่อนข้างมาก pH 2.5-3) ช่วยสลายไขมันและชะล้างสิ่งสกปรกที่เกาะบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ดี  เมื่อนำมาผสมน้ำให้เจือจางลงใช้สระผมจะช่วยบรรเทาอาการคันศีรษะได้ดี (แต่ก็ไม่ควรใช้น้ำมะเฟืองชะโลมบนเส้นผมโดยตรงเป็นประจำเช่นกัน)
  • ผลมะคำดีควาย น้ำที่สกัดจากผลมะคำดีควาย จะมีคุณสมบัติช่วยลดรังแค รักษาอาการชันนะตุและหนังศีรษะที่เป็นเชื้อรา แต่การใช้ต้องระวังไม่ให้เข้าตา เพราะจะแสบมาก
  • ดอกอัญชัน  น้ำที่สกัดจากดอกอัญชัน จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เมื่อนำมาใช้หมักผม ก่อนสระ 15 นาที หรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำ จะช่วยทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น เส้นผมไม่หลุดร่วงง่าย
  • ต้นตะไคร้ น้ำที่สกัดจากต้นตะไคร้เมื่อนำมาใช้หมักผมก่อนสระหรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการเส้นผมแตกปลาย ลดรังแคและบรรเทาอาการคันศีรษะ
  • ใบว่านหางจระเข้  เมื่อนำวุ้นใสๆ ที่ได้จากใบว่านหางจระเข้ มาใช้หมักผมก่อนสระหรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยให้ผมนุ่มสลวย หวีง่ายและช่วยรักษาแผลบนหนังศรีษะ
  • ต้นฟ้าทลายโจร น้ำที่สกัดจากต้นฟ้าทลายโจร (ใบ ต้น ฝัก) จะมีสารยับยังการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด เมื่อนำมาใช้หมักผมก่อนสระหรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการเส้นผมหลุดร่วงง่าย

นอกจากนี้แล้วในประเทศไทยยังมีสมุนไพรที่มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมอีกหลายชนิดที่รอให้คุณได้ศึกษา เรียนรู้และเลือกใช้ให้เหมาะสม  เอาล่ะเกริ่นนำมามากแล้ว มาลงมือทำแชมพูสมุนไพรสูตรตามใจคุณกันดีกว่า

ส่วนผสมแชมพูสระผม สมุนไพร
  • แชมพูออย (EMAL 28CT)     500  กรัม
  • ผงฟอง (ช่วยให้ฟองมาก)     50 กรัม
  • ผงข้น (ช่วยให้น้ำยาสระผมข้นขึ้น)     125– 150  กรัม
  • ลาโนลิน (ช่วยให้เส้นผมลื่น)     50  กรัม
  • น้ำใบหมี่สด (น้ำสมุนไพรตามต้องการ)     1.5 กก. (หรือลิตร)
  • น้ำจุลินทรีย์ผลไม้เปรี้ยว     500  กรัม
  • เกลือ     500 กรัม
  • น้ำหอมกลิ่นตามชอบ      ปริมาณเล็กน้อย
วิธีทำแชมพูสระผม สมุนไพร
  1. แบ่งน้ำใบหมี่สดปริมาณเล็กน้อยใส่ภาชนะ ตั้งไฟพอน้ำร้อน  นำลาโนลินละลายในน้ำร้อน นำเกลือลงไปผสมและน้ำจุลินทรีย์ผลไม้เปรี้ยว คนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงพักเอาไว้
  2. นำน้ำใบหมี่สดที่เหลือ ใส่ในภาชนะใบใหญ่ (ควรใช้ภาชนะพลาสติกหรือสแตนเลส)
  3. ค่อยๆ ใส่ผงฟองลงในน้ำทีละน้อย พร้อมกับคนให้ผงฟองละลายจนหมด ใส่แชมพูออย คนให้ส่วนผสมเข้ากัน
  4. ค่อยๆ ใส่ผงข้นทีละน้อยคนให้ละลายเข้ากัน (ไม่ต้องถึง 150 กรัมก็ได้ ดูว่าน้ำยาข้นก็ใช้ได้ อย่าใช้เกิน น้ำยาจะเหลว) แล้วจึงใส่ลาโนลีนที่ละลายเตรียมไว้ในข้อ 1 คนให้ส่วนผสมเข้ากัน
  5. ใส่กลิ่นตามที่ต้องการ แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัวจึงกรอกใส่ในภาชนะ พร้อมใช้หรือจำหน่าย
วิธีทำน้ำจุลินทรีย์ผลไม้เปรี้ยว

ใช้น้ำหมักผลไม้เปรี้ยวตามต้องการ เช่น มะกรูด มะนาว หรือมะเฟือง น้ำหนักรวม 3 กิโลกรัม ผสมคลุกกับน้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ 3 เดือน แล้วจึงนำมากรองเอาเฉพาะน้ำจุลินทรีย์มาใช้

ข้อควรทราบ

1. สมุนไพรที่นำมาใส่ในแชมพูสระผม มีหลายชนิด ควรศึกษาถึงคุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง  ตัวอย่างเช่น

  • น้ำที่สกัดจากดอกอัญชัน จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้รากผมแข็งแรง เมื่อใช้ได้สักระยะหนึ่งจะสังเกตเห็นว่ามีผมร่วงน้อยลงและมีผมใหม่ขึ้นมากกว่าเดิม  เตรียมน้ำดอกอัญชันโดยนำหม้อใส่น้ำปริมาณไม่ต้องมากนัก ต้มน้ำให้เดือด แล้วนำกลีบดอกอัญชันใส่ลงในน้ำเดือด (ควรเลือกใช้ชนิดดอกสีน้ำเงิน) ใช้ทัพพีคนคลุกเคล้าไปมาจนเห็นดอกอัญชันสีซีดลงและน้ำต้มดอกอัญชันเป็นสีน้ำเงินเข้ม จึงกรองเฉพาะน้ำมาใช้ เมื่อผสมแล้วจะได้แชมพูสีม่วงสดใส แต่สีม่วง ในผลิตภัณฑ์นี้จะค่อยๆ สลายตัวไปทีละน้อยเนื่องจากเป็นสารธรรมชาติ สลายตัวได้ง่าย แต่สามารถยืดอายุด้วยการเก็บในตู้เย็น
  • น้ำที่สกัดจากผลมะคำดีควาย มีคุณสมบัติลดรังแค รักษาอาการชันนะตุและเชื้อราบนหนังศีรษะ เตรียมโดยใช้ผลมะคำดีควายแห้ง (หาซื้อได้ตามร้ายขายสมุนไพรหรือยาไทยแผนโบราณ) แช่น้ำให้นุ่ม  ต้มให้เดือดและกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้
  • ว่านหางจระเข้ วุ้นใสๆ ที่ใบมีคุณสมบัติช่วยบำรุงผมให้นุ่มชุ่มชื้น เตรียมได้โดยปอกเปลือกใบว่านหางจระเข้ออกให้หมด แล้วล้างยางสีเหลืองให้หมด (ถ้าล้างยางไม่หมด ยางจะกัดผิวหนัง) นำวุ้นมาใส่โถปั่นให้ละเอียด

2. น้ำหมักชีวภาพที่นำมาทำแชมพูสระผม มีหลายชนิด เช่น มะกรูด มะนาว มะเฟือง ส้มป่อย  เป็นต้น
3. หากต้องการให้แชมพูเก็บได้นาน ๆ ให้ใส่สารกันบูด 12 กรัม เพิ่มลงไปในส่วนผสมดังกล่าว

Credit: YesSpaThailand.com

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

นิปเปิ้ลไก่ กับน้ำไก่กิน Nipple Drinker

นอกเหนือจากเรื่องของพันธุ์สัตว์ที่มักถูกละเลยแล้ว น้ำดื่มก็มักเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มกจะถูละเลยเช่นกัน ในเมื่อเป้าหมายหลักสูงสุดของของการสัตว์ก็คือการการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ซึ่งเกษตรกรทั่วไปมักให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารสัตว์มากกว่า ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารสัตว์ในตอนนี้มันจะมีราคาที่มีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่รูปแบบของการวางระบบน้ำ คุณภาพของน้ำ และเทคนิดของการให้ยาเพื่อรักษาโรคโดยการผสมน้ำกินนั้นกลับไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร

ควรระลึกเอาไว้เสมอว่า ปริมาณของน้ำที่ไก่กินนั้นมากกว่าอาหารประมาณ 2-3 เท่าในแต่ละวัน ดังนั้นการขาดน้ำไก่กินจึงส่งผลเสียมากต่อขบวนการผลิตไก่ และนอกจากนี้ ถ้าคุณภาพของน้ำไม่ดีแล้ว การให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น มันก็จะไม่มีประสิทธิภาพตามมาด้วย

การจัดการระบบการให้น้ำภายในฟาร์มไก่

การจัดการระบบการให้น้ำภายในฟาร์ม จะต้องมีการจัดการด้วยความระมัดระวัง โดยจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. ระบบน้ำจะต้องสามารถป้องกันการปนเปื้อนจะแหล่งน้ำสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และนอกจากนี้ ขนาดของปั้มน้ำ แท็งน้ำและท่อน้ำ ควรที่จะมีขนาดที่ใหญ่พอ เพื่อลดการสูญเสียแรงดันภายในระบบน้ำ
2. ระบบการกรองน้ำ ซึ่งถ้าจะให้ดีควรที่จะมีการขนาดของการกรองที่ระดับ 60 ไมครอน ซึ่งมันจะช่วยในการกรองตะกอนต่างๆที่ปนมากับน้ำได้ดี และนอกจากนี้มันจะช่วยลดการอุดตันภายในท่อของระบบการให้น้ำได้เป็นอย่างดี และนอกจานี้ ระบบการกรองที่ดีมันจะสามารถ ช่วยลดปัญหาการเกิดไบโอฟีมล์ ภายในท่อระบบน้ำได้ด้วย
3. มิเตอร์วัดปริมาณน้ำไก่กินและปริมาณของน้ำที่ใช้ไปทั้งหมด จะต้องมีการติดตั้งเอาไว้ทุกฟาร์ม หรือทุกโรงเรือนของการเลี้ยงไก่ ซึ่งถ้าการกินน้ำของไก่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติแล้ว มันก็สามารถที่จะบอกได้เป็นนัยๆว่า น่าจะเกิดปญหาขึ้นกับตัวไก่แล้ว ซึ่งทั้งนี้อาจจะบอกได้คร่าวๆว่า ไก่อาจจะป่วย หรือเกิดความเครียดขึ้นแล้ว ซึ่งการจัดการตรวจวัดปริมาณของน้ำไก่กินที่ถูกต้องนั้น จะช่วยทำให้การให้ยาโดยการละลายน้ำได้ผลดี หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การให้ยาละลานน้ำแบบเทในแท็งใหญ่นั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะเลิกใช้ เพราะว่ามันจะทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ภายในแท็งที่มากขึ้น และนอกจากนี้มันยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้สัตว์พาหะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนู แมลงสาป จิ้งจก ตกลงไปในแท็งได้ และนอกจากนี้ การให้ยาโดยการละลายน้ำในแท็งนี้ มันยังอาจจะทำให้ยาตกตะกอนภายในถังได้ ซึ่งเมื่อให้วัคซีนโดยการละลายน้ำภายในถังเดิมนี้ มันก็อาจจะมีผลการประสิทธิภาพของการให้วัคซีนกับไก่ด้วยก็ได้ แนวทางปฏิบัติโดยส่วนมาก ทั่วโลกมักจะใช้ปลั้มแรงดันสูงต่อเข้ากับระบการให้น้ำภายในฟาร์ม เพื่อที่จะทำให้แรงดันของน้ำกระจายไปได้อย่างทั่วถึงในทุกๆจุดของระบบท่อภายในฟาร์ม ซึ่งข้อดีก็คือ มันจะสามารถทำให้ไก่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและทั่วถึงกันทุกจุดของระบบรายน้ำ
5. หัว นิปเปิ้ลไก่ Nipple Drinker จะต้องมีจำนวนที่เพียงพอ ต่อจำนวนของไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในโรงเรือนนั้นๆ

คุณภาพของน้ำไก่กิน และนิปเปิ้ลไก่

คุณภาพของน้ำเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญมาก เพราะว่าโดยมาตรฐานของน้ำทั่วไปแล้ว ไม่ได้มีการกำหนดไว้ในแต่ละสายพันธ์ของสัตว์ที่นำมาเลี้ยง โดยทั่วไปจะใช้มาตรฐานของน้ำกินของมนุษย์แทน แม้ว่าส่วนประกอบบางตัวจะมีค่าตัวบ่งชี้ที่แตกต่างจากน้ำที่คนกินก็ตาม
ในเชิงอุดมคติแล้ว จะมีการแนะนำให้มีการตรวจน้ำปีละ 2 ครั้ง ซึ่งทั้งนี้ก็อาจจะมีการตรวจวิเคราะห์ ในช่วงฤดูแล้งกับฤดูฝน หรืออาจะเป็นช่วงฤดูร้อนกับฤดูฝน ก็ได้ ซึ่งการตรวจก็จะเป็นการตรวจทางกายภาพ ซึ่งการวิเคราะห์ก็จะมี เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง ความกระด้างของน้ำ ปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำ สนิมเหล็ก ไนเตรด ไนไตรด์ แอมโมเนียม คลอไรด์ เป็นต้น และนอกจากนี้การตรวจวิเคราะห์เชิงชีวภาพก็จะมี เช่น การตรวจลักษณะของเชื้อแบคทีเรียต่างๆ E.coli ,Clostridium , Coliforms Streptococci , Pseudomonas , Staphylococci เป็นต้น

การตรวจวิเคราะห์น้ำ ควรทำการสุ่มตัวอย่างน้ำที่จะนำมาทำการวิเคราะห์ จากหลายๆที่ เช่น ก้นบ่อ แอ่งน้ำ ผิวน้ำ แหล่งน้ำหลักที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ เป็นต้น และที่สำคัญจุดปลายน้ำที่ไก่กิน หรือที่สัตว์สำผัสอยู่ก็มักจะเป็น จุดๆหนึงที่จะต้องนำมาตรวจสอบเพราะ มันมักจะเป็นจุดศูนย์รวมของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ด้วย
เมื่อการการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆภายในท่อน้ำแล้ว เชื้อจุลินทรีย์เล่านั้นก็จะมีการเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขึ้นมาก แล้วหลังจากนั้นมันก็จะทำให้เกิดไบโอฟีมขึ้นภายในระบบน้ำของท่อรายน้ำไก่กิน ตามมา ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ฟาร์มไก่จะต้องทำเป้นประจำก็คือ การทำความสะอาดระบบรายน้ำและที่น้ำ ให้เป็นประจำด้วย และนอกจากนี้ จะต้องมีการวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการของน้ำที่ส่งตรวจวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมออีกด้วย เมื่อพบว่าคุณภาพของน้ำไม่ดีแล้ว ก็จะต้องทำการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์ม ต่อไป

ในการแกไขปัญหาของคุณภาพน้ำไก่กินนั้น จะต้องต้องดูที่ปัญหาว่า ปัญหาหลักๆ ที่พบนั้นคืออะไร เช่น ถ้าพบว่าน้ำนั้นมีการปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือเชื้อจุลินทรีย์ที่มากเกินไปแล้ว ก็จะต้องเพิ่มสารคลอรีนลงไปในน้ำ เพื่อที่จะช่วยในการฆ่าเชื้อในน้ำนั้นให้หมดไป หรือถ้าพบว่าน้ำนั้นมีความขุ่นเป็นจำนวนมาก ก็จะต้องทำการตกตะกอนของน้ำ ก่อนที่จะนำมาฆ่าเชื้อ เพื่อทำให้ผลของการฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรที่จะมองข้ามเลยก็คือ ปัญหาของน้ำไก่กินที่มีตะกอนของสารอนินทรีย์มากๆ เช่น น้ำมีการปนเปื้อนของสาร แมกนีเชียม สารคอบเปอร์ซัลเฟต หรือแม้กระทั้ง แร่เหล็ก ซึ่งตะกอนเหล่านี้มันจะไปมีผลทำให้ท่อระบบรายน้ำเกิดการผุกร่อนขึ้นมาได้ และสุดท้ายก็จะทำให้ ระบบรายน้ำที่มีการจัดการอยู่ภายในฟาร์มไก่นั้นเกิดการเสียหายตามมาได้

การปรับปรุงคุณภาพน้ำไก่กิน และนิปเปิ้ลไก่

กระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำไก่กินนั้น สามารถที่จะทำได้หลายๆวิธี ซึ่งขึ้นกับคุณลักษณะของน้ำที่ นำมาใช้ เช่น

  • การฆ่าเชื้อในน้ำโดยใช้สารคลอรีน โดยมากแล้วมักจะมีการผสม หรือเติมสารคลอรีนลงไปในน้ำก่อนที่น้ำจะมีการใหลเข้าไปในแท็ง หรือท่อ เพื่อให้สารคลอรีนมีเวลาทำปฏิกิริยา ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ต่างๆก่อน ไม่น้อยกว่า 20 – 30 นาที โดยเชื้อโรคที่จำเป็นจะต้องฆ่าได้แก่ เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค เชื้อไวรัส ที่ก่อโรค เชื้อราที่ก่อโรค ในไก่ต่างๆ เป็นต้น
  • การฆ่าเชื้อในน้ำด้วย ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ คลอรีนไดออกไซด์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ มีหลายๆพื้นที่นิยมทำกัน แต่การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้ มันมักจะมีข้อกำกัดเหมือนกัน คือ มันจะออกฤทธิได้ดีในระบบน้ำที่เป้นระบบปิด เท่านั้น และถ้าน้ำมีตะกอนที่มากๆ มันจะออกฤทธิได้ไม่ดีเลย
  • การกรองน้ำ จะเป็นวิธีหนึงที่ทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้น โดยเฉพาะน้ำที่มีลักษณะที่ขุ่น ดังนั้นถ้าน้ำไก่กินขุ่น การกรองน้ำไก่กินก็เป็นอีกวิธีหนึง ที่ทำให้คุณภาพของน้ำในเชิงกาพดีขึ้น ได้
  • การทำให้น้ำมีฤทธิ์เป็นกรด ก็เป็นอีกวิธีหนึงที่สามารถลดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อจุลินทรีย์ ภายในน้ำไก่กินได้ ซึ่งสารที่จะนำมาทำให้น้ำเป็นกรด หรือลด ph ของน้ำนั้นจะมีอยู่หลายๆ ชนิด ซึ่งทั้งนี้ ควรที่จะให้เจ้าของฟาร์มทำการพิจารณาเลือกชนิดของผลิตภัณพ์ เพื่อความเหมาะสมในแต่ละที่
  • การจำกัดธาตุเหล็กในน้ำ ซึ่งน้ำไก่กินที่มีปริมาณของธาตุเหล็กมากๆนั้น มันจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำมาก เช่น มันจะไปขัดขวางประสิทธิภาพของการทำวัคซีนละลายน้ำ ทำให้ภูมิคุ้มกันภายในตวของไก่ขึ้นไม่ดี มันจะไปขัดขวางประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อของสารคลอรีนที่ไส่ลงไปในน้ำ เพราะธาตุเหล็กมันจะไปจับกับสารคลอรีนที่ไส่ลงไปในน้ำ มันจะไปส่งเสริมทำให้มีการอุดตันของระบบรายน้ำ และอุปกรณ์ที่ต่อผ่านระบบรายน้ำ และมันยังไปส่งเสริมทำให้มีการเพิ่มของจำนวนของจุลินทรีย์ภายในระบบรายน้ำ ได้มากอีกด้วย
  • สารในเตรทที่ผสมอยู่ในน้ำไก่กิน ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะส่งผลทำให้สุขภาพของไก่ไม่ดีตามมา ซึ่งน้ำที่มีปริมาณของสารไนเตรทจำนวนมาก เราจำเป็นที่จะต้องทำการกำจัดออกไป ให้เร็ว และก็ให้มากที่สุดด้วย เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับสุขภาพของไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์มตามมา
  • ในกรณีที่น้ำไก่กินเป็น้ำกระด้าง ทางฟาร์มไก่ก็จำเป็นที่จะต้องทำการบำบัดก่อนที่จะส่งเข้าไปภายในรายน้ำ โดยการทำให้ความกระด้างของน้ำนั้นลดลงก่อน ซึ่งวิธีการลดความกระด้วงของน้ำนั้นก็มีอยู่หลายวิธี ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของฟาร์ม และในแต่ละพื้นที่นั้นๆ เพราะว่าน้ำกระด้างนั้น มันจะเนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาไปโอฟีมขึ้นภายในระบบท่อรายน้ำได้ ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว มันจะไปมีผลทำให้การให้ยา ให้วัคซีน โดยระลายน้ำไม่ได้ผล เกิดการอุดทันของท่อระบบรายน้ำ และสุดท้ายทำให้ปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในระบบท่อ เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันจะไปมีผลกระทบกับสุขภาพของไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์มตามมา

สำหรับเรื่องของ การจัดการน้ำที่สะอาดเพื่อที่จะใช้ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆนั้น ได้มีการจัดการ หรือมีการทำมานาน
แล้วกว่า 30 ปี โดยปัจจุบันนี้ เทคนิคนี้ได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้ว่าทั่งร้านค้า และตลาดต่างก็มีอุปกรณ์ชนิดนี้ออกมาขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่สามารถที่จะไปซื้อมาใช้ได้อย่างสะดวก ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ มันจะมุงเน้นไปทำให้คุณภาพของน้ำที่เรานำมาใช้ ดื่ม กิน หรือใช้อื่นๆ มีคุณภาพที่ดีขึ้น

การห้ามใช้ยาปฎิชีวนะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ใช้ในการผสมอาหาร หรือที่ใช้โดยการฉีดนั้นจะมีการห้ามใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อเลย ทำให้แนวทางการใช้ยาโดยการละลายในน้ำไก่กินนั้น จึงเป้นแนวทางที่มีความสนใจมากขึ้น และตอนนี้คงเชื้อได้ว่า ทุกบริษัทที่มีการผลิตไก่เนื้อเพื่อการส่งออกนั้นคงจะมีใช้ยาโดยการละลายน้ำเพียงอย่างเดียว เท่านั้น
การใช้สารชนิดต่างๆ เพื่อที่จะใช้ในการละลายโดยน้ำนั้น มีอยู่หลายๆอย่างที่สามารถที่จะทำได้ เช่น การละลายยาฆ่าโดยกับน้ำแล้วทำการฉีดพ่น การละลายยาฆ่าพายธิ การละลายวัคซีน การละลายยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาโรคต่างๆ การให้อาหารเสริมกับไก่ จำพวกวิตามิน การละลายโปไปโอติก หรือแม้กระทั่งการละลายกรดอินทรีย์ ต่างๆ เป็นต้น

การให้ยาโดยการละลาย

ข้อดีของการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น มีอยู่หลายประการ ดังต่อไป นี้

  • ในกรณีสัตว์ที่ป่วยมักจะมีแนวโน้ม ในการกินอาหารที่ลดลง และมีแนวโน้มที่มักจะกินอาหารที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะชดเชยปริมาณของน้ำที่จะสูญเสียไป และทำการรักษาอุณหภูมิ ของร่างกายให้คงที่ ดังนั้น การให้ยาโดยการละลายน้ำจึงเป็นที่เหมาะสมเป็นอย่างมาก
  • ในการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น เราสามารถที่จะปรับระยะเวลาของการให้ยา ให้มีความเหมาะสมได้ เช่น อาจจะให้ 2-4 ชม. เพื่อทำให้ไก่ สามารถที่จะได้รับยาได้ทุกตัว เพื่อให้ผลของการให้ยานั้นมีประสิทธิภาพที่สูง สุด
  • วิธีการให้ยาสามารถที่จะทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้อุปกรณ์น้อย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการให้ยาโดยวิธีอื่นแล้วสามรถที่จะปฏิบัติได้เร็วกว่า สะดวกสะบายกว่า
  • ในกรณีที่มีการให้ยาผิดพลาดพลาด เราสามารถที่จะแกไขได้โดยทันที ซึ่งจะไม่เหมือนกับการให้ยาโดยวิธีการผสมมาในอาหารเพราะว่า การให้ยาโดยวิธีการผสมมาในอาหารนั้น มันจะต้องมีการผสมในปริมาณที่มากๆ และบางทีจะต้องมีการแยกถังไซโล สำหรับเก้บอาหารต่างหากอีก
  • มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสารเป็นอันตรายชนิดอื่นๆ ซึ่งในกรณีที่กล่าวถึงนี้ก็คือ การปนเปื้อนที่โรงงานผสมอาหารเอง หรือการปนเปื้อนสารชนิดต่างๆที่ฟาร์ม เลี้ยงไก่
  • ขนาดของยาที่ให้ หรือปริมาณของ Dose ของยาที่ใช้สามารถที่จะปรับได้ตามน้ำหนักตัวของไก่ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอให้อาหารที่เราผสมยามานั้นหมดก่อน
  • ในกรณีของการให้วัคซีนกับไก่ สามารถที่จะทำการให้วัคซันกับไก่ในฝูงที่มีจำนวนไก่มากได้เลย ซึ่งทั้งนี้มันจะทำให้ประหยัดเวลา และแรงงานในการปฏิบัติงานด้วย แต่ว่าการให้วัคซีนโดยการละลายน้ำนั้น มันจะต้องคำนึงถึงเรื่องของคุณภาพน้ำอย่างอื่นด้วย เช่น น้ำจะต้องไม่มีสารคลอรีนผสมอยู่ เพราะสารคลอรีนนี้มันจะไปฆ่าวัคซีนที่ละลายอยู่ในน้ำนั้นตายหมด ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการทำวัคซีนไม่ได้ผลตามมา
ข้อดีของการให้ยาโดยการละลายน้ำและนิปเปิ้ลไก่

ในการให้ยาโดยการละลายน้ำ ที่มีการใช้ปั๊ม หรือ dosing pump นั้น จะมีข้อดีหลายๆ อย่าง ดังนี้

  • สามารถที่จะควบคุม จำนวนของการให้ยา ขนาดของการให้ยา ได้อย่างแน่นอน
  • ทำให้ไม่ต้องใช้ถังพักน้ำสำหรับใส่ผสมยาแยะต่างหาก ซึ่งในที่นี้ มันจะมีข้อดีหลายๆอย่าง เช่น เจ้าของฟาร์มไม่ต้องผวงเรื่องที่จะต้องมาเติมยา ไม่ต้องกลัวเรื่องของน้ำขาด ไม่ต้องกลัวเรื่องของยาที่จะตกตะกอน ไม่ต้องมาคอยกวนยาบ่อยๆ ไม่ต้องกลัวเรื่องของขนาดยาที่ไม่ถูกต้อง และไม่ต้องกลัวเรื่องของการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียภายในถังละลายยา และนอกจากนี้ ไม่ต้องกลัวสัตว์พาหะต่างๆที่จะเข้าไปในถังละลายยาด้วย เพราะถังสต็อกยาที่เราใช้มันจีขนาดเล็กและมีฝาปิดตลอดเวลาด้วย
  • ถังสต็อกที่มีขนาดเล็กนี้ สามารถที่จะทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เหมือนกับถังละลายยาที่มีขนาดใหญ่ การล้างทำความสะอาดก็จะยาก ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในการปฏิบัติงาน
  • ถ้ากรณเกิดปัญหาในเรื่องของการหยุดการทำงานของปั๊ม การใช้ถังสต๊อกจะไม่เป็นปัญหากับระบบการให้น้ำไก่กิน เพราะว่าระบบของรายน้ำก็ยังสามารถที่จะให้น้ำไก่กินได้เป็นปกติ แต่ว่าถ้าให้ยาโดยการละลายน้ำแบบเป็นถังใหญ่แล้วละก็ ถ้าป็มในระบบรายน้ำไม่ทำงาน น้ำในระบบรายน้ำก็จะไม่ใหล และยาที่จะปล่อยเข้าไปสู่ระบบรายน้ำก็จะไม่ไหลตามไปด้วย ซึ่งก็จะทำให้เกิดผลกระทบกับการให้ยาในไก่ ตามมา
  • การละลายยาในถังใหญ่นั้น จะพบปัญหาได้หลายอย่าง เช่น ความสม่ำเสมอของยาที่จะเข้าไปภายในระบบรายน้ำนั้นจะต่ำ และถ้ายาที่ให้นั้นตกตะกอนด้วยแล้ว มันยิ่งจะมีผลทำให้คุณภาพของยาที่เข้าไปภายในระบบรายน้ำนั้น ไม่มีประสิทธิภาพ ตามไปด้วย และสุดท้ายก็จะมีผลกระทบกับไก่ตามมา
  • การควบคุมความเข้มข้นของการให้ยา และระยะเวลาการให้ยา การใช้ถงสต็อกหรือการใช้ฟั๊ม จะก่อให้เกิดผลที่ดี และมีความแน่นอนของ ปริมาณการให้ยาที่มากกว่า
  • การให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น ถ้ายาที่จะให้เป้นรูปแบบที่เป็นผง มันก็ย่อมจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการให้ยาโดยการใช้ถังสต๊อก จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แน่นอน
  • ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น การวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาด การให้ยาผิดชนิด หรือการให้ขนดของยาที่ผิดพลาด แล้วละก็ วิธีการใช้ถังสต๊อกกับป็มนี้ จะเป็นวิธีที่สามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด เพียงแค่นำถังสต๊อกยาเก่าออกแล้ว นำน้ำเปล่าฉีดเข้าไปแทน เพื่อทำการล้างยาให้ออกจากระบบรายน้ำให้หมด เท่านี้ก็สามารถที่จะแก้ไข ปัญหาดังที่กล่าวมาได้แล้ว แต่จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถึงแม้วิธีการให้ยาโดยการละลายน้ำจะมีข้อดีที่มากเพียงใดก็ตาม แต่ผู้ที่ทำการให้ยาก็จะต้องพึงระลึกถึงข้อห้ามต่างๆ ของยาแต่ละชนิดให้ดีด้วย ว่า มันมีข้อห้ามอย่างอื่นอะไรที่จะต้องมีการพิจารณาร่วมด้วย
ประสิทธิภาพของยา

ข้อควรปฏิบัติสำหรับประสิทธิภาพของยาที่ให้โดยการละลายน้ำ ได้แก่

  • เจ้าของฟาร์มจะต้องแน่ใจว่า ไก่ที่ได้รับยาโดยการละลายน้ำนั้น ได้มีการกินน้ำที่ผสมยานั้นจริง เพราะว่ายาบางชนิดมันขม จะมีผลทำให้ไปมันไม่กินน้ำ ซึ่งเมื่อไก่มันไม่กินน้ำ ก็จะทำให้ไก่ไม่ได้รับยา ตามมา
  • ในการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น สิ่งที่สำคัญมากก็คือ ปริมาณของน้ำที่ไก่กิน ซึ่งเราจะรู้ได้ก็จะต้องมีตัวเลขเป็นตัวบอกว่าไก่ใช้น้ำไปเท่าใหร่ ซึ่งในที่นี้ก็คือ โรงเรือนเลี้ยงไก่ จะต้องม มิเตอร์ สำหรับที่จะบันทึกปริมาณของน้ำที่ไก่กินเข้าไปด้วย ซึ่งสิ่งที่ว่านี้จะสำคัญมากต่อระบบการให้ยาโดยการละลายน้ำ เพราะว่า เราจะได้รู้ว่าน้ำที่เราผสมยาไปนั้น ไก่ภายในโรงเรือนมันกินได้หมด และกินได้หมด ภายในระบะเวลาท่เราต้องการด้วย เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของการออกฤทธิของยาที่ให้นั้นได้อย่างเต็มที่
  • ในกรใช้ยาที่เป็นผงละลายน้ำนั้น จะต้องมีการพิจารณาคุณภาพของน้ำให้ดี ว่ายาที่ละลายนั้นมันสามารถที่จะละลายได้ 100% หรือไม่ เช่น ยาทั่วไปมักละลายได้ดีในน้ำที่มีลักษณะที่เป็นกรด ยาที่มีคุณสมบัติที่เป้นด่างมักละลายได้ดีในน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด และน้ำที่เป้นน้ำกระด้าง หรือน้ำที่มีสารแขวนลอยมากๆ จะมีผลทำให้การออกฤทธิของยานั้นไม่ดี ซึ่งสารแขวนลอยนั้นมันจะไปจะกับอนุภาคของยาที่ทำการละลายในน้ำนั้น
  • ในการให้ยาที่มีปริมาณความเข้มข้นที่สูงๆ ยาที่ละลายน้ำนั้นมันมักจะไม่ละลาย ทำให้ยาบางส่วนเกิดการตกตะกอนได้ ซึ่งสุดท้ายจะทำให้ไก่ไม่ได้รับยาในปริมาณที่เติมที่ หรือเติมdose ดังนั้นการให้ยาละลายน้ำที่ดีจะต้องให้ตัวยามีความเข้มข้นไม่เกิน 5% ของน้ำที่จะทำการละลาย แต่ปัญหานี้สามารถที่จะทำการแก้ไขได้โดยการใช้ป็มกับถังสต๊อกยา เพราะจากที่กล่าวมาคือ มันจะสามารถที่จะปรับขนาดของการให้ยาที่เหมาะสมได้ และเราไม่จำเป็นที่จะต้องผสมยาในครั้งละมากๆ และนอกจากนี้ การล้างทำความสะอาด และการเปลี่ยนถังใหม่ก็สามารถที่จะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็วอีกด้วย
  • จากที่กล่าวมาแล้ว ถ้าทางฟาร์มไก่ไม่มีความดือดร้อนมากนักกับเรื่องของต้นทุนอุปกรณ์ที่จะนำมาติดตั้งสำหรับการให้ยากับไก่ สิ่งที่เหมาะสมมากที่สุดก็คือ การใช้ป็มขนาดเล็กกับถังสต๊อกยา เพื่อควบคุมการให้ยาภายในฟาร์มไก่ จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้ยานั้นดีขึ้น
  • เทคนิคของการให้ยาโดยการละลายในน้ำนั้น อย่างหนึ่งที่จะต้องไม่ลืมเลยก็คือ หลายจากที่มีการให้ยาโดยการละลายน้ำแล้ว จะต้องมีการให้ ไก่ได้กินน้ำเปล่าด้วย ซึ่งน้ำเปล่านี้จะต้องป็มเข้าไปในรายระบบน้ำนานเป็นเวลา หลายๆชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อให้ไก่ได้รับน้ำเปล่าบ้าง ไม่ให้ไก่เคลียส และที่สำคัญ เพื่อทำความสะอาดระบบท่อรายน้ำไก่กินให้สะอาดด้วย เพราะระบบท่อรายน้ำที่ทำการให้ยานั้น มันจะมีการตกตะกอนของยา และมีการปนเปื้อของยาด้วย ดังนั้นในการป็มน้ำเปล่าเข้าไปภายในระบบท่อรายน้ำนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีควมสำคัญมาก มันจะช่วยในการล้างท่อ และป้องกันไปโอฟีม ที่จะเกิดภายในระบบท่อรายน้ำ ดังท่กล่าวมา
  • ในการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น สิ่งที่สำคัญที่จะต้องมีการพิจารณาประกอบร่วมกันกันก็คือ ปริมาณน้ำที่จะต้องใช้ ปริมาณยาที่จะต้องใช้ น้ำหนักของไก่ที่จะให้ยา และระยะเวลาที่จะให้ยา ดังนั้น ผู้ที่จะคำนวนค่าต่างๆเหล่านี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาก ซึ่งถ้ามีการความนวนที่ผิดพลาดแล้ว ก็จะทำให้การให้ยานั้นไม่ได้ผล หรือไม่มีประสิทธิภาพที่ดี ตามมา
  • สุดท้ายนี้ ระบบการจัดการการให้น้ำแบบระบบท่อนั้น ฟาร์มไก่ที่มีการใช้นี้ จะต้องมีการควบคุมดูแล รักษา และปรับปรงซ่อมแซมให้ดี โดยในช่วงของการเตรียมโรงเรือนเลี้ยงไก่ ทางฟาร์มไก่จะต้องมีโปรแกรมในการล้างทำความสะอาด ให้ดี โดยเฉพาะตะกอนต่างๆ ไปโอฟีมที่อยู่ภายในท่อระบบการให้น้ำ จะต้องทำการล้างออกให้หมด และตรวจสอบซ่อมแซมท่อส่วนที่พัง เป็นรู ให้เรียบร้อย และจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า หัวนิปเปิลแต่ละหัวนั้น อยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีรูรั่ว ในการล้างทำความสะอาดนั้น อาจจะมีการใช้กรดต่างๆ ล้างทำความสะอาด หรือใช้สารไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ แช่หมัก แล้วใช้ป็มแรงดันสูงล้าง ออกก็ได้

เอกสารอ้างอิง
· Xavier C.. 2008. The Importance Of Drinking Water , feed and livestock , V5( 2 ) : 31-34 p.

ประจำเดือน มิถุนายน 2009
เรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.กรรมการผู้จัดการ

Credit: chat-chan-chtooo.blogspot.com/2009/07/blog-post_29.html

https://www.thaibottle.com/นิปเปิ้ลให้น้ำไก่

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก

วิธีการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกมีหลายวิธี แต่ที่สำคัญ และนิยมทำกัน ในวงการอุตสาหกรรมพลาสติกมีดังต่อไปนี้

๑. การขึ้นรูปด้วยเครื่องฉีดพลาสติกเข้าแม่พิมพ์ (Injection molding machine)

เป็นวิธีการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โดยการฉีดพลาสติก ที่กำลังหลอมเหลวเข้าสู่แบบพิมพ์ ด้วยความดันสูง เครื่องจักรที่ใช้ในการนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นที่นิยมแพร่หลาย มีส่วนประกอบสำคัญคือ

  • ฮอปเปอร์ (Hopper)

อุปกรณ์ส่วนนี้มีลักษณะเป็นกรวยขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่ใช้บรรจุเม็ดพลาสติก และสารเติมแต่ง เพื่อป้อนเข้าเครื่องฉีดพลาสติก

  • กระบอกฉีดและสกรู (Injector and screw)

เป็นส่วนสำคัญของเครื่องฉีดพลาสติก ทำหน้าที่หลอมเหลวพลาสติก และสร้างแรงดัน เพื่อฉีดพลาสติกหลอมเหลวเข้าสู่แม่พิมพ์ ประกอบด้วยกระบอกตรึงติดอยู่กับที่ ส่วนต้นของกระบอกเป็นที่ติดตั้งฮอปเปอร์ ตรงส่วนกลาง และส่วนปลายของกระบอก มีเครื่องให้ความร้อน ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ ปลายของกระบอก จะต่อเข้ากับหัวฉีด ภายในของกระบอกนี้ เป็นสกรูที่มีความยาวสั้นกว่ากระบอกเล็กน้อย มีลักษณะเป็นเกลียวหยาบหมุนป้อนส่วนผสมของพลาสติก ให้เคลื่อนที่เข้าสู่กระบอก สามารถเคลื่อนถอยหลัง และดันกลับ เพื่อเพิ่มแรงดันให้พลาสติกหลอมเหลว ไหลเข้าสู่แม่พิมพ์

  • หัวฉีด (nozzle)

เป็นส่วนต่อปลายกระบอกฉีดพลาสติก เข้ากับช่องทางไหลของพลาสติกในแม่พิมพ์ หัวฉีดมีรูขนาดเล็ก เพื่อให้พลาสติกหลอมเหลว ไหลผ่านเข้าสู่ช่องว่างในแม่พิมพ์ ด้วยความรวดเร็ว

  • มอเตอร์ขับสกรู (Drived motor)

มอเตอร์ขับสกรู อาจเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า หรือมอเตอร์ไฮดรอลิก สำหรับหมุนสกรู และขับดันสกรู เพื่อฉีดพลาสติกที่กำลังหลอมเข้าสู่ช่องว่างในแม่พิมพ์

  • แม่พิมพ์ (mold)

เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นช่องว่าง ที่มีรูปร่างตามผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิต แม่พิมพ์ โดยทั่วไปมักออกแบบให้มี ๒ ชิ้น เพื่อให้สะดวกต่อการถอดผลิตภัณฑ์ออกจากแม่พิมพ์ นอกจากนี้ ต้องมีช่องทางไหลของพลาสติกหลอมเหลวต่อจากหัวฉีด เข้าสู่ช่องว่างในแม่พิมพ์เรียกว่า สปรู (sprue)

  • ตัวหนีบยึดแม่พิมพ์ (Hydraulic clamp unit)

ตัวหนีบยึดแม่พิมพ์ซึ่งมักเรียกกันว่า แคล้ม เป็นกลไก สำหรับเปิดและปิดฝาแม่พิมพ์ ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฮดรอลิก อุปกรณ์ส่วนนี้ยังรวมทั้งอุปกรณ์ทำความร้อน เพื่ออุ่นแม่พิมพ์ก่อนฉีด และอุปกรณ์ทำความเย็น เพื่อลดอุณหภูมิแม่พิมพ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์แข็งตัวก่อนถอดออกจากแม่พิมพ์

  • ชุดควบคุมกลาง (Central control)

เป็นชุดควบคุมเครื่องจักรรวมทุกส่วน ได้แก่ อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์วัดและควบคุมอุณหภูมิ อุปกรณ์ควบคุมความดัน และอุปกรณ์ตั้งเวลา

๒. การขึ้นรูปด้วยเครื่องรีดหรือเอกซ์ทรูเดอร์ (Extruder)

เครื่องจักรที่ใช้สำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกด้วยการรีดนี้ มีลักษณะคล้ายกับวิธีแรก แต่แตกต่างกันตรงที่ เอกซ์ทรูเดอร์ ไม่มีส่วนแม่พิมพ์ และอุปกรณ์ควบ สำหรับแม่พิมพ์ ตรงปลายกระบอกฉีดพลาสติก จะติดตั้ง ดาย (die) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องรีดพลาสติกออกมาเป็นเส้นหรือแผ่น ที่มีรูปหน้าตัดตามรูปดาย การขึ้นรูปด้วยวิธีนี้ สามารถประยุกต์ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ได้มากมาย เช่น ท่อหรือเส้นพลาสติก ถุงพลาสติก ฟิล์ม แผ่น หรือแท่งพลาสติกที่มีรูปหน้าตัดพิเศษ

๓. การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ความร้อน

เครื่องจักรที่ใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ พลาสติกในลักษณะนี้ มักมีลักษณะไม่ซับซ้อนนัก และมักเรียกชื่อตามลักษณะวิธีการ คือ

  • การหล่อแบบพิมพ์แบบลดความดัน (Vacuum molding)
  • การหล่อแบบพิมพ์แบบอัด (Compression molding)
  • การหล่อแบบพิมพ์แบบถ่ายเท (Transfer molding)
  • การหล่อแบบพิมพ์แบบขยายตัวด้วย ความร้อน (Thermalexpansion molding)

๔. การขึ้นแผ่นด้วยการรีด (Carlendering)

เป็นการขึ้นรูปเป็นแผ่นด้วยลูกกลิ้ง ชุดละไม่น้อยกว่า ๓ ลูกขึ้นไป โดยลูกกลิ้ง ๒ ลูกแรก จะมีอุปกรณ์ให้ความร้อน ทำให้พลาสติกอ่อนนิ่ม แล้วถูกอัดรีดออกมาเป็นแผ่น

๕. การขึ้นรูปด้วยการจุ่ม (Dipping)

เป็นการขึ้นรูปอย่างง่าย มักใช้กับพลาสติกชนิดพลาสติซอล เช่น หุ้มด้ามเครื่องมือช่าง

๖. การหล่อแบบ (Casting)

การขึ้นรูปด้วยการหล่อแบบ มักนิยมใช้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีขนาดใหญ่ เช่น เรือเร็ว ตัวถังรถยนต์ ถังเก็บน้ำ รูปปั้น เป็นต้น

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

เกี่ยวกับขวดพลาสติก

ขวดพลาสติก ขวด สร้างขึ้นมาจาก พลาสติก ขวดพลาสติกมักจะใช้ในการจัดเก็บของเหลวเช่น น้ำน้ำอัดลมน้ำมัน น้ำมันปรุงอาหาร ยา แชมพู นม และ หมึก ขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กมากขวดตัวอย่างขนาดใหญ่

ประวัติความเป็นมา

ขวดพลาสติกถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี 1947 แต่ยังคงค่อนข้างแพงจนถึงต้นปี 1960 เมื่อเอทิลีนความหนาแน่นสูงได้รับการแนะนำ พวกเขาได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นที่นิยมกับทั้งผู้ผลิตและลูกค้าเนื่องจากลักษณะที่มีน้ำหนักเบาของพวกเขาค่อนข้างต่ำและต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับ แก้ว ขวด . ยกเว้นไวน์และเบียร์ อุตสาหกรรมอาหาร ได้เปลี่ยนเกือบหมดแก้วกับขวดพลาสติก

การผลิต

ขวดพลาสติกที่เกิดขึ้นโดยใช้ความหลากหลายของเทคนิค ทางเลือกของวัสดุที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้

  • เอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) เป็นเม็ดพลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับขวดพลาสติก วัสดุนี้จะประหยัดทนต่อผลกระทบและอุปสรรคให้ความชุ่มชื้นดีHDPE เข้ากันได้กับหลากหลายของผลิตภัณฑ์รวมถึงกรดและ caustics แต่ไม่ได้เข้ากันได้กับ ตัวทำละลาย . มันจะได้รับการอนุมัติในองค์การอาหารและยาเกรดอาหาร HDPE โปร่งแสงเป็นธรรมชาติและมีความยืดหยุ่น นอกจากนี้สีจะทำให้กำลังการผลิต HDPE ทึบแสงแม้ว่าจะไม่มันวาว HDPE ยืมตัวเองได้อย่างง่ายดายเพื่อการตกแต่งหน้าจอไหม ในขณะที่ HDPE ให้การป้องกันที่ดีที่อุณหภูมิแช่แข็งด้านล่างมันไม่สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เต็มไปกว่า 160 ° F (71 ° C) หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้สุญญากาศ (สูญญากาศ) ประทับตรา
  • เอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) จะคล้ายกับการผลิต HDPE ในองค์ประกอบ มันเป็นน้อยเข้มงวดและโดยทั่วไปน้อยกว่าที่ทนทานทางเคมี HDPE แต่โปร่งแสงมากขึ้น LDPE ใช้งานเป็นหลักสำหรับการใช้งานบีบ LDPE อย่างมีนัยสำคัญมีราคาแพงกว่า HDPE
  • Polyethylene Terephthalate (PET PETE หรือ โพลีเอสเตอร์ ) มักจะถูกใช้สำหรับเครื่องดื่มอัดลมขวดน้ำและผลิตภัณฑ์อาหารจำนวนมาก PET ให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดีมากและคุณสมบัติอุปสรรคน้ำมันหอมระเหยทนต่อสารเคมีที่ดีโดยทั่วไป (แม้ว่า acetones และคีโตนจะโจมตี PET) และระดับสูงของความทนต่อแรงกระแทกและแรงดึง กระบวนการ orienting ทำหน้าที่ในการปรับปรุงคุณสมบัติของก๊าซและอุปสรรคความชื้นและทนแรงกระแทก วัสดุนี้ไม่ได้ให้ความต้านทานต่ออุณหภูมิที่สูงมากการใช้งานสูงสุด อุณหภูมิ. 200 ° F (93 ° C)
  • วัสดุ Polyvinyl Chloride (PVC) เป็นที่ชัดเจนตามธรรมชาติมีความต้านทานที่ดีมากที่จะน้ำมันและมีการส่งผ่านออกซิเจนต่ำมาก มันมีอุปสรรคที่ดีในการปล่อยก๊าซมากที่สุดและต้านทานผลกระทบต่อการลดลงยังดีมาก สารนี้เป็นสารทนสารเคมี แต่มันก็เป็นความเสี่ยงที่จะตัวทำละลาย พีวีซีเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับน้ำมันสลัดน้ำมันแร่และน้ำส้มสายชู นอกจากนี้ยังเป็นที่ใช้กันทั่วไปสำหรับแชมพูและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พีวีซีจัดแสดงนิทรรศการความต้านทานต่ำที่มีอุณหภูมิสูงและจะบิดเบือนที่ 160 ° F (71 ° C) ทำให้มันเข้ากันไม่ได้กับผลิตภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยความร้อน มันได้บรรลุความประพฤติไม่ดีในปีที่ผ่านมาเนื่องจากความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
  • โพรพิลีน (PP) ถูกนำมาใช้เป็นหลักสำหรับขวดและฝาปิดและมีแพคเกจที่เข้มงวดกับอุปสรรคความชื้นที่ดีเยี่ยม ข้อดีอย่างหนึ่งที่สำคัญของโพรพิลีนเป็นเสถียรภาพที่อุณหภูมิสูงได้ถึง 220 ° F (104 ° C) โพรพิลีนเป็นหม้อนึ่งฆ่าเชื้อและมีศักยภาพในการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ ความเข้ากันได้ของ PP มีอุณหภูมิสูงบรรจุเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการใช้งานด้วยผลิตภัณฑ์ที่เติมร้อน PP มีความต้านทานต่อสารเคมีที่ดี แต่ให้ทนต่อแรงกระแทกไม่ดีในอุณหภูมิที่เย็น
  • สไตรีน (PS) ที่มีความคมชัดที่ยอดเยี่ยมและความมั่นคงในราคาที่ประหยัด เป็นที่นิยมใช้กับผลิตภัณฑ์แห้งรวมวิตามินเยลลี่ปิโตรเลียมและเครื่องเทศ สไตรีนไม่ได้ให้ความสามารถในการป้องกันที่ดีและการจัดแสดงนิทรรศการความต้านทานผลกระทบต่อคนยากจน
  • พลาสติกชีวภาพ – โครงสร้างโพลิเมอร์ขึ้นอยู่กับวัสดุชีวภาพการประมวลผลมากกว่า ปิโตรเคมี .

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (1) →

Plastic Packaging

Many people may think of packaging only for a few moments when tearing open a new toy or mp3 player. However, packaging serves many masters: marketers, consumers, regulators, logistics engineers, recyclers, and more.
The adaptability of plastic packaging allows it to meet a variety of needs. As packaging moves from design phase through recovery/disposal, the varying types of plastics and their unique properties enable many of the choices made along the way: color, weight, size, shape, utility, printing, protection and so on.
Take a look below at the popular plastic polymers (resins) used in packaging, some benefits of plastic packaging, and some key points about food safety. And travel back in time to review major milestones in plastic packaging…

Plastic resins (polymers) for packaging

Many consumers already are familiar with the numbers and arrows on plastic packaging. These identification codes indicate the type of polymer (sometimes called plastic resin) the packaging is made from. While the resin code has its origins primarily in recycling, it also serves as sort of a primer for recognizing the most common plastics used in packaging: 1) polyethylene terephthalate, 2) high density polyethylene, 3) polyvinyl chloride, 4) low density polyethylene, 5) polypropylene, 6) polystyrene and 7) other. The resins often are identified by their acronyms: 1) PET, 2) HDPE, 3) PVC, 4) LDPE, 5) PP, 6) PS and 7) other.

The specific properties of each resin make them more or less suitable for different kinds of packaging (and other) applications. » view a chart of plastic resin identification codes

Benefits

To be useful, packaging must safely protect and deliver a product from the manufacturer to the consumer. Packaging must meet regulatory requirements—for example, pharmaceutical and drug packaging is tightly regulated; so is any packaging in contact with food. Packaging must protect the contents from damage and leaking. And it must meet expectations regarding aesthetics, merchandising, cost, ease of use, ease of opening and resealing, weight, fuel savings, greenhouse gas emissions, and so on. The right plastic packaging can deliver on these expectations, whether protecting fragile medical equipment or fresh foods. » learn more about innovations in plastic packaging
Plastics help bring home more product with less packaging. Plastic packaging in general is lightweight and strong—different plastics can be molded, extruded, cast and blown into seemingly limitless shapes and films or foams. This resourcefulness often delivers while using minimal resources, creating less waste, consuming fewer resources and creating fewer CO2 emissions than alternative materials. Plastics make packaging more efficient, which ultimately conserves resources.
Modern plastic food packaging—such as heat-sealed plastic pouches and wraps—helps keep food fresh and protects it from contamination. Packaging experts estimate that each pound of plastic packaging can reduce food waste by up to 1.7 pounds. » learn more

Food safety

From airtight wraps to shelf stable containers, plastic packaging plays a key role in delivering a safe food supply, from farm to table and is a material of choice for freezing foods for longer term storage. Plastics have also driven innovations in packaging design. For example, modified atmosphere packaging helps preserve food freshness by capturing a reduced-oxygen air mixture in a plastic package. This technique can extend a product’s shelf life by slowing the growth of bacteria.


In the United States, the Food and Drug Administration regulates the safety of food-contact packaging, including plastics used in contact with food. Many plastics, such as polystyrene and polyethylene, have been used in food packaging for decades. All food-contact packaging materials must pass FDA’s stringent approval process—the agency must find them safe for use in a specific packaging application—before they can be put on the market.
Like everything in this world, questions arise around plastic packaging safety, sometimes based on real issues…and sometimes not. To help answer these and other questions, here are resources on plastic packaging and food safety, styrene and plastic foodservice packaging, bisphenol A (BPA) used to make polycarbonate plastics and epoxy resins, polyvinyl chloride (PVC) plastic packaging and plastic bags and film.
And here’s a site dedicated to busting some of the myths about plastics, including packaging.

Credit: Plasticpackagingfacts.org

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ลดต้นทุนการผลิตบรรจุภัณฑ์

แนวคิดนักออกแบบงานบรรจุภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต

บรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนทางตรงที่ส าคัญตัวหนึ่งในการผลิตสินค้ารองลงมาจากตัววัตถุดิบ ถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายบรรจุภัณฑ์ให้
ต่ าลงได้ ก็จะท าให้ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยต่ าลงด้วย หนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบรรลุผลก าไรที่มากกว่า คือ การลดต้นทุนของ
วัสดุบรรจุภัณฑ์ แนวคิดในการลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มผลกําไร ได้แก่

  • การลดระดับคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้ต่าลง เช่น ลดความหนา ลดน้ าหนัก โดยจะต้องพิจารณาว่า เมื่อลด แล้วยังมีความเหมาะสมหรือไม่ และการประหยัดที่เกิดขึ้นจะคุ้มหรือไม่
  • พิจารณาทางเลือกอื่นของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ควรเลือกวัสดุท าบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ที่ราคาถูกกว่าแทนวัสดุเดิม เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกควรแทนที่บรรจุภัณฑ์แก้ว เป็นต้น
  • ใช้ประโยชน์จากวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้ได้ผลคุ้มค่ากว่าเดิม เป็นการน าวัสดุบรรจุภัณฑ์มาใช้ให้คุ้มค่าขึ้น จะประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลง dimension เพียงเล็กน้อยของกล่องกระดาษ อาจจะท าให้การจัดวางภาพ คลี่บนกระดาษมาตรฐาน 1 แผ่น ได้
  • พิจารณาทางเลือกอื่นของรูปแบบบรรจุภัณฑ์เช่น การน าบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเดิมในท้องตลาดมาดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลก าไรได้
  • การลดส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง เช่น กรณีของฝาปิดแบบติดกันเป็นชิ้นเดียว ซึ่งมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง อาจแทนที่ได้ด้วยการใช้ฝาพลาสติกแยกชิ้นกันได้ส าหรับขวดพลาสติก
  • การเปลี่ยนรูปทรงจากทรงกลมมาเป็นทรงสี่เหลี่ยม เนื่องจากทรงกลมหรือทรงกระบอกมีปริมาตรน้อยกว่าทรงเหลี่ยม (จัตุรัส) ประมาณ 25-27 % และทรงเหลี่ยมยังง่ายต่อการบรรจุลงในกล่องขนส่งและสะดวกในการขนส่ง และประหยัดเนื้อที่ในการจัดวางแสดงสินค้าด้วย
  • การเพิ่มปริมาณบรรจุต่อกล่องให้มากขึ้น เช่น เคยบรรจุสินค้ากล่องหนึ่ง จ านวน12 ชิ้น เพิ่มปริมาณบรรจุเป็นกล่องละ 18 ชิ้นหรือ 24 ชิ้น จะท าให้ขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น และประหยัดค่าขนส่ง
  • การลดจํานวนขนาดให้น้อยลง หากสินค้ามีขนาดที่หลากหลายจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบรรจุมาก การลดจ านวนขนาดให้เหลือน้อยที่สุด ย่อมจะลดค่าใช้จ่ายดีกว่าการมีหลายๆ ขนาด และขนาดที่ควรตัดออกไปน่าจะเป็นขนาดที่เล็กที่สุด
  • การลดขนาดพื้นที่ด้านกว้างของบรรจุภัณฑ์พบว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีด้านกว้างน้อยที่สุดจะมีต้นทุนถูกที่สุดเพราะใช้เนื้อที่กระดาษน้อยกว่า นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในการบรรจุ และบรรจุภัณฑ์มีความมั่นคงแข็งแรง
  • การลดจํานวนสีที่พิมพ์และเลือกใช้คู่สีที่เหมาะสม การออกแบบกราฟฟิกมีส่วนช่วยในการจ าหน่ายสินค้าและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตราสินค้า ในบางกรณีอาจส าคัญกว่าทางเลือกอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงแต่ได้ผลน้อยกว่า การออกแบบกราฟฟิกง่ายๆ ใช้สีเพียง 1-2 สี อาจให้ผลลัพธ์ที่ดี และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้สีในการพิมพ์ที่มากเกินไป เนื่องจากผู้บริโภคมักค านึงถึงคุณภาพสินค้าเป็นหลักมากกว่าจ านวนสีที่พิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนการผลิตเป็นสิ่งจ าเป็น แต่ก็ต้องให้ความส าคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดด้วย การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาด ปัจจุบันเริ่มมีความชัดเจนถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการแข่งขันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นด้านตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการใช้เทคโนโลยีผลิตขั้นที่เหนือกว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นหนึ่งในการครองตลาดนั้น ไม่จ าเป็นต้องใช้วิธีการออกแบบที่หนีจากคู่แข่งขันไปเรื่อยๆ แต่การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์คิดค้นขั้นที่เหนือกว่า และใช้เทคโนโลยีขั้นที่สูงกว่า ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งซึ่งนักออกแบบเริ่มให้ความส าคัญ

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ตราสินค้า

ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ชื่อ ข้อความ สัญญลักษณ์หรือรูปแบบหรือสิ่งเหล่านี้รวมกัน เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงสินค้า หรือบริการของผู้ขายหรือ
กลุ่มของผู้ขายที่แสดงความแตกต่างจากคู่แข่งขัน ตราสินค้าหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างรวมกัน คือ
- ชื่อตรา (brandname) ส่วนของตราที่เป็นชื่อหรือค าพูดหรือข้อความซึ่งออกเสียงได้ เช่น วัน ทู คอล, เค เอฟ ซี
- เครื่องหมายตราสินค้า (brandmark) ส่วนหนึ่งของตราซึ่งสามารถจดจ าได้แก่ สัญลักษณ์ รูปแบบที่ประดิษฐ์ต่าง ๆ หรือรูปภาพตลอดจน
สีสรรที่ปรากฏอยู่ในเครื่องหมายต่าง ๆ เหล่านี้
- เครื่องหมายการค้า (trademark) ส่วนหนึ่งของตราหรือตราที่ได้จดทะเบียนการ เพื่อป้องกันสิทธิตามกฎหมายแต่ผู้เดียว
- ลิขสิทธิ์ (copyright) สิทธิตามกฎหมายในสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ
- โลโก้ (logo) เป็นเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ของกิจการหรือองค์การหนึ่ง ๆ

หลักเกณฑ์ในการเลือกชื่อตราสินค้า (brandname)

- สั้น กะทัดรัด จดจ าได้ง่าย ออกเสียงได้ง่าย – มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
- แปลเป็นภาษาต่างประเทศได้ง่าย มีความหมายเหมาะสม – บอกถึงคุณสมบัติที่ส าคัญของผลิตภัณฑ์
- สอดคล้องกับค่านิยมและวัฒนธรรมของลูกค้าเป้าหมาย – น าไปจดทะเบียนการค้าได้ (ไม่ซ้ ากับที่มีอยู่เดิม)
ตราสินค้า มีความส าคัญอย่างยิ่ง ในสภาวะเศรษฐกิจ ที่มีการแข่งขันสูง ความอยู่รอดของผู้ผลิต อยู่ที่เกิดจากการตัดสินใจของผู้บริโภค จึง
ต้องหาวิธีที่จะท าให้ผู้บริโภคใช้ และบอกต่อกัน เพื่อให้หันมาใช้สินค้า หรือบริโภคสินค้าตัวนั้น ผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ จึงต้องสร้างตราสินค้า
เพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกัน ให้พ้นจากสินค้า ที่ด้อยคุณภาพ

ความสําคัญของตราสินค้า ที่มีต่อผู้ผลิต หรือผู้จาหน่าย

1. สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับสินค้า 2. ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จากผู้จ้องจะเลียนแบบ
3. ท าให้ผู้ซื้อ ที่ชื่นชอบสินค้า ไม่สับสน เท่ากับเป็นการป้องกันตัวเอง จากคู่แข่งขันได้

ความสําคัญของตราสินค้า ต่อผู้บริโภค

1. เป็นเสมือนค ามั่นสัญญา จากผู้ขาย 2. ท าให้เรารู้ว่าใครเป็นผู้ผลิต หรือสินค้าเป็นของผู้ใด
3. เป็นหลักประกันคุณภาพ ของสินค้า ต่อผู้บริโภค 4. เป็นตัวที่ท าให้ผู้บริโภค ตัดสินใจซื้อ

การสร้างตราสินค้าให้มีพลัง

1. ออกแบบตราสินค้าให้มีความเหมาะสม กับบรรจุภัณฑ์และตัวสินค้า
2. ต้องท าให้เกิดความแตกต่างกับตราสินค้า รายอื่น หรือของคู่แข่ง
3. ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าประเภท อุปโภค บริโภค ที่มีอยู่มากมายหลายชนิด บนชั้นวางขายสินค้า เมื่อได้
ตราสินค้า เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องท าขั้นต่อไปคือ การออกแบบฉลาก

ป้ายฉลาก (Labeling)

หน้าที่ของป้ายฉลาก
o บอกชนิดของผลิตภัณฑ์และตรายี่ห้อ
o ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
o ช่วยในการส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์

ข้อพิจารณาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1. พิจารณาลักษณะของผลิตภัณฑ์ ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติ ของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน เช่น
- ลักษณะทางกายภาพ เป็นของแข็ง ของเหลว แห้งเป็นผง เปียก กึ่งแข็งกึ่งเหลว ฯลฯ
- น้ าหนักของผลิตภัณฑ์ หนัก หรือ เบา – ขนาดใหญ่ เล็ก
- มีการผุกร่อนหรือไม่ (ถ้ามี ต้องป้องกันน้ า ออกซิเจน ได้ด้วย) – มีกลิ่นหรือไม่ (มีความต้องการ ในการเก็บกลิ่นหรือไม่)
- เสื่อมสภาพง่ายหรือไม่ (มีความต้องการป้องกันสิ่งสกปรก จากภายนอก รวมทั้งแสง หรือความร้อน หรือไม่)
2. การตลาด ต้องจัดอันดับของตัวผลิตภัณฑ์ ว่าอยู่ในต าแหน่งใด โดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ ที่เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน จากนั้นจึงจะ
ก าหนดรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ว่าจะเป็นถุง หรือ กล่อง เทคนิคการพิมพ์ จะเป็นแบบใด
3. การผลิตและการจัดจ าหน่าย ต้องทราบจ านวนการการผลิตบรรจุภัณฑ์ แต่ละครั้ง จ านวนผลิตภัณฑ์ ที่จะบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขีด
ความสามารถในการผลิต และรูปแบบ ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับช่องทางการจ าหน่าย
4. การขนส่ง ควรทราบว่าการขนส่งบรรจุภัณฑ์ นั้นไปในช่องทางใด เพื่อเลือกบรรจุภัณฑ์ ให้เหมาะสมกับการขนส่ง เช่น จะวางเรียงกันแบบ
ใด มีการซ้อนทับกันหรือไม่ ถ้ามีเป็นแบบใด
5. การเก็บรักษา (Storage) การเลือกบรรจุภัณฑ์จะต้องพิจารณาถึงวิธีการเก็บรักษา สภาพของสถานที่เก็บรักษา รวมทั้งวิธีการเคลื่อนย้าย
ในสถานที่เก็บรักษาด้วย
6. ลักษณะการน าไปใช้งาน ต้องน าไปใช้งานได้สะดวกเพื่อประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่าย
7. ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ เป็นปัจจัยที่จะต้องค านึงถึงเป็นอย่างมาก
8. ปัญหาด้านกฎหมาย บทบัญญัติด้านกฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ปรากฏชัดเจนคือ
8.1 กฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับฉลากการออกแบบกราฟฟิกของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ
นอกจากนี้ยังต้องศึกษาการใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
8.2 กฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
9. ผลกระทบต่อสังคม ปัญหาที่ยังมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังคือ ผลกระทบต่อนิเวศน์วิทยา (Ecology) เกี่ยวกับการท าลายซากของบรรจุ
ภัณฑ์ มูลเหตุที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุ

ข้อควรรู้เพิ่มเติมในการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ในการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม จ าเป็นต้องมีความรู้และพึงปฏิบัติรวม 10 ประการด้วยกันดังนี้
1. มีสามัญส านึก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ไวต่อความชื้น ต้องได้รับการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกัน ไอน้ าได้ดี ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันสูงก็ต้องใช้
วัสดุที่กันไขมันได้ ผลิตภัณฑ์ที่แตกหักง่าย ต้องมีการยึดมิให้เคลื่อน ที่ และใช้วัสดุกันกระแทก
2. มีความรู้ในวิชาฟิสิกส์และหน่วยที่ใช้ในด้านการบรรจุภัณฑ์เช่น ในเรื่องของมวล แรง ความดัน รวมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี-
กายภาพของบรรจุภัณฑ์ด้วย เช่น ความทนทานต่อการโค้งงอ
3. มีความรู้ในด้านการหีบห่อ มีความรู้ในเรื่องของชนิดและคุณสมบัติของวัสดุและบรรจุภัณฑ์เพื่อสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
รวมทั้งมีความเข้าใจในเรื่องส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ เช่น กาว แถบกาว สายรัด ฉลาก วัสดุกันกระแทก
4. มีความรู้เกี่ยวกับระบบการขนส่ง เช่น ความเสียหายเนื่องจากทางกล สภาพอากาศแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต สภาพของการล าเลียงขนส่ง
สินค้าและระบบการขนส่งหน่วยใหญ่ที่ควรใช้
5. มีความรู้ในผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ ได้แก่ คุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบคุณค่าทางโภชนาการ ความแข็งแกร่งหรือบอบบาง
สาเหตุที่ท าให้ผลิตภัณฑ์เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ ราคา และอายุการเก็บที่ต้องการ
6. มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบและข้อก าหนดของลูกค้า อันรวมทั้งกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ของประเทศที่จ าหน่ายสินค้าและมาตรฐานของ
บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าก าหนด
7. มีความรู้ในด้านเครื่องจักรที่ใช้ส าหรับการหีบห่อ เช่น เครื่องบรรจุ ปิดผนึก เครื่องห่อ เครื่องปิดฉลาก เครื่องพิมพ์ฉลาก
8. มีความรู้ในเรื่องจุดเด่นและ จุดด้อยของบรรจุภัณฑ์ที่คู่แข่งขันใช้อยู่
9. พัฒนาบรรจุภัณฑ์และทดสอบคุณสมบัติบางประการที่ท าได้ โดยง่าย และเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง
10. ส่งตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการปรับปรุงแล้วในข้อ 9 ไปยัง ศูนย์การหีบห่อหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบ
คุณสมบัติของวัสดุและบรรจุภัณฑ์ เพื่อยืนยันผลของการพัฒนาก่อนจะสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์ต่อไป

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
• การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การก าหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจน
การขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
• การออกแบบกราฟฟิค หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อ
ความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา (Psychological Effects) ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลัก
ศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์

ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ช านาญการบรรจุหลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณา
ตัดสินใจ ล าดับขั้นตอนของการด าเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น คือ
1. ก าหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ – ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น – การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์
4. การพัฒนาและแก้ไข
5.การพัฒนาต้นแบบจริง
6. การผลิตจริงออกมาจ านวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง ส าหรับการทดสอบทดลองครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบแก้ไขให้เป็นที่
เรียบร้อยแล้วจึงด าเนินการผลิตเพื่อน าไปบรรจุและจ าหน่ายในล าดับต่อไป

การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ท าหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดี
เยี่ยม ณ จุดขาย รูปทรงของบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับตัวโครงร่างกายของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนังของมนุษย์ ค า
บรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณ การออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ =
ค าบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์ เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และ
รูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า
S = Simple เข้าใจง่ายสบายตา A = Aesthetic มีความสวยงาม ชวนมอง
F = Function ใช้งานได้ง่าย สะดวก E = Economic ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่

หน้าที่ของกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์

• สร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต
• ชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึงชนิด ประเภทของผลิตภัณฑ์
• แสดงเอกลักษณ์เฉพาะส าหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ
• แสดงสรรพคุณและวิธีใช้ของผลิตภัณฑ์

การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านการตลาด ดังนี้

1. การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จ าต้องออกแบบให้จ าได้ง่าย ณ จุดขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เห็นหรือฟังโฆษณา
2. เจาะตลาดใหม่ มีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ในการเจาะตลาดใหม่หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่
3. ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเก่า อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนสีใหม่เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับสินค้า
เดิม แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่จ าต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคงตราสินค้าไว้
4. การส่งเสริมการขาย จ าเป็นอย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคทราบว่ามีการเพิ่มปริมาณสินค้า การลด
ราคา หรือการแถมสินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความอยากซื้อมากขึ้น
5. การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อสร้างความทรงจ าที่ดีต่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่มีตราสินค้าใหม่ควรจะได้รับการ
ออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสินค้า รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อตราสินค้า6. เปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ โดยปกติสินค้าแต่ละชนิดมีวัฏจักรชีวิตของตัวมันเอง (Product Life Cycle) เมื่อถึงวัฏจักรชีวิต
ช่วงหนึ่งๆ จ าเป็นต้องมีการเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุของวัฏจักร ในบางกรณี อาจเกิดจากนวัตกรรมใหม่ทางด้านบรรจุภัณฑ์
เช่น การเลือกใช้วัสดุใหม่จึงมีการเปลี่ยนรูปทรงหรือขนาด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการออกแบบบรรจุ
ภัณฑ์ใหม่เพื่อรักษาหรือขยายส่วนแบ่งการตลาด

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

วางแผนออกแบบบรรจุภัณฑ์

ขั้นตอนการวางแผนออกแบบบรรจุภัณฑ์

การวางแผนเริ่มต้นด้วยจุดประสงค์ของการพัฒนา พร้อมด้วยข้อจ ากัดต่างๆรายละเอียดการวางแผนต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 : การวางแผน

1.1 กําหนดเวลา
1.2 ผลงานที่จะได้รับในแต่ละขั้นท างาน
1.3 รายละเอียดของตราสินค้า (Branding)
1.4 ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 2 : การรวบรวมข้อมูล

2.1 ข้อมูลการตลาด
2.2 ข้อมูลจากจุดขาย
2.3 สถานะการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจ ากัด (SWOT: Strength, Weakness, Opportunity , Treat)
2.4 ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย / พฤติกรรมผู้บริโภค
2.5 เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ ระบบบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักร

ขั้นตอนที่ 3 : การออกแบบร่าง

3.1 พัฒนาความคิดริเริ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2 ร่างต้นแบบ ประมาณ 3-5 แบบ
3.3.ท าต้นแบบ ประมาณ 2-3 แบบ

ขั้นตอนที่ 4 : การประชุมวิเคราะห์ปรับต้นแบบ

4.1 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
4.2 วิเคราะห์การสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
4.3 เลือกต้นแบบที่ยอมรับได้

ขั้นตอนที่ 5 : การท าแบบเหมือนร่าง

5.1 เลือกวัสดุที่จะท าแบบ
5.2 ออกแบบกราฟฟิกเหมือนจริง พร้อมตราสินค้าและสัญลักษณ์ทางการค้า
5.3 ขึ้นแบบ

ขั้นตอนที่ 6 : การบริหารการออกแบบ

เริ่มจากการติดต่อโรงงานผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์จนถึงการควบคุมงานผลิตให้ได้ตามแบบที่ต้องการ พร้อมทั้งจัดเตรียมรายละเอียดการ
สั่งซื้อ (Specification) เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสามารถผลิตได้ตามต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการติดตามผลของบรรจุภัณฑ์ที่
ออกแบบไปแล้วว่าสามารถสนองตามจุดมุ่งหมายของการออกแบบและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรเพียงใด

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

พลาสติกแบบทนเคมี

พลาสติกแบบทนเคมี

พอลิเอทิลีน (Polyethylene : PE) โดยทั่วไปแล้ว พอลิเอทิลีน มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง มีความลื่นมันในตัว เมื่อสัมผัสจึงรู้สึกลื่น หยุ่นตัวได้ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดแม่พิมพ์ มีความเหนียว ทนความร้อนได้ไม่มากนัก แต่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้า ใส่สีผสมได้ง่ายมีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำจึงลอยน้ำได้ เมื่อความหนาแน่นสูงขึ้นจะทำให้มีความแข็งและความเหนียวเพิ่มขึ้น อุณหภูมิหลอมตัวสูงขึ้น และอัตราการคายก๊าซเพิ่มขึ้น เมื่อความหนาแน่นลดลง จะทำให้อัตราการเสื่อมสลายของผิวเพิ่มขึ้น กล่าวคือผิวจะแตกรานได้ง่ายขึ้น

สมบัติทั่วไป

- ยืดหยุ่นได้ดี เหนียวมากที่อุณหภูมิต่ำ
- มีความทนทานต่อสารเคมีได้ดีมาก
- ทนต่อสภาวะอากาศได้ดีพอสมควรอากาศสามารถซึมผ่านได้ดี
- หดตัวแม่พิมพ์ได้ดีมาก ทำให้ถอดจากแม่พิมพ์ได้ง่าย
- เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก
- ผสมสีได้ง่าย ทำให้ผลิตเป็นฟิล์มใส ฟิล์มสี ฟิล์มโปร่งแสงหรือทึบแสงได้
- ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส
ผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยพอลิเอทิลีน
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ ขวดใส่สารเคมี ขวดใส่น้ำ ลังหรือกล่องบรรจุสินค้า ภาชนะต่าง ๆ เครื่องเล่นของเด็ก ถุงเย็น ถาดทำน้ำแข็ง ชิ้นส่วนแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฉนวนไฟฟ้า ถุงใส่ของแผ่นฟิล์มสำหรับห่อของโต๊ะ และเก้าอี้

เราให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพลาสติกแบบทนเคมี https://www.thaibottle.com/contact-us

 

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →
Page 2 of 2 12