Shampoo Bottles Factory Bangkok Thailand |

News & Updates

Archive for September, 2012

ลดต้นทุนการผลิตบรรจุภัณฑ์

แนวคิดนักออกแบบงานบรรจุภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต

บรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนทางตรงที่ส าคัญตัวหนึ่งในการผลิตสินค้ารองลงมาจากตัววัตถุดิบ ถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายบรรจุภัณฑ์ให้
ต่ าลงได้ ก็จะท าให้ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยต่ าลงด้วย หนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบรรลุผลก าไรที่มากกว่า คือ การลดต้นทุนของ
วัสดุบรรจุภัณฑ์ แนวคิดในการลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มผลกําไร ได้แก่

  • การลดระดับคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้ต่าลง เช่น ลดความหนา ลดน้ าหนัก โดยจะต้องพิจารณาว่า เมื่อลด แล้วยังมีความเหมาะสมหรือไม่ และการประหยัดที่เกิดขึ้นจะคุ้มหรือไม่
  • พิจารณาทางเลือกอื่นของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ควรเลือกวัสดุท าบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ที่ราคาถูกกว่าแทนวัสดุเดิม เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกควรแทนที่บรรจุภัณฑ์แก้ว เป็นต้น
  • ใช้ประโยชน์จากวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้ได้ผลคุ้มค่ากว่าเดิม เป็นการน าวัสดุบรรจุภัณฑ์มาใช้ให้คุ้มค่าขึ้น จะประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลง dimension เพียงเล็กน้อยของกล่องกระดาษ อาจจะท าให้การจัดวางภาพ คลี่บนกระดาษมาตรฐาน 1 แผ่น ได้
  • พิจารณาทางเลือกอื่นของรูปแบบบรรจุภัณฑ์เช่น การน าบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเดิมในท้องตลาดมาดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลก าไรได้
  • การลดส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง เช่น กรณีของฝาปิดแบบติดกันเป็นชิ้นเดียว ซึ่งมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง อาจแทนที่ได้ด้วยการใช้ฝาพลาสติกแยกชิ้นกันได้ส าหรับขวดพลาสติก
  • การเปลี่ยนรูปทรงจากทรงกลมมาเป็นทรงสี่เหลี่ยม เนื่องจากทรงกลมหรือทรงกระบอกมีปริมาตรน้อยกว่าทรงเหลี่ยม (จัตุรัส) ประมาณ 25-27 % และทรงเหลี่ยมยังง่ายต่อการบรรจุลงในกล่องขนส่งและสะดวกในการขนส่ง และประหยัดเนื้อที่ในการจัดวางแสดงสินค้าด้วย
  • การเพิ่มปริมาณบรรจุต่อกล่องให้มากขึ้น เช่น เคยบรรจุสินค้ากล่องหนึ่ง จ านวน12 ชิ้น เพิ่มปริมาณบรรจุเป็นกล่องละ 18 ชิ้นหรือ 24 ชิ้น จะท าให้ขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น และประหยัดค่าขนส่ง
  • การลดจํานวนขนาดให้น้อยลง หากสินค้ามีขนาดที่หลากหลายจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบรรจุมาก การลดจ านวนขนาดให้เหลือน้อยที่สุด ย่อมจะลดค่าใช้จ่ายดีกว่าการมีหลายๆ ขนาด และขนาดที่ควรตัดออกไปน่าจะเป็นขนาดที่เล็กที่สุด
  • การลดขนาดพื้นที่ด้านกว้างของบรรจุภัณฑ์พบว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีด้านกว้างน้อยที่สุดจะมีต้นทุนถูกที่สุดเพราะใช้เนื้อที่กระดาษน้อยกว่า นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในการบรรจุ และบรรจุภัณฑ์มีความมั่นคงแข็งแรง
  • การลดจํานวนสีที่พิมพ์และเลือกใช้คู่สีที่เหมาะสม การออกแบบกราฟฟิกมีส่วนช่วยในการจ าหน่ายสินค้าและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตราสินค้า ในบางกรณีอาจส าคัญกว่าทางเลือกอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงแต่ได้ผลน้อยกว่า การออกแบบกราฟฟิกง่ายๆ ใช้สีเพียง 1-2 สี อาจให้ผลลัพธ์ที่ดี และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้สีในการพิมพ์ที่มากเกินไป เนื่องจากผู้บริโภคมักค านึงถึงคุณภาพสินค้าเป็นหลักมากกว่าจ านวนสีที่พิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนการผลิตเป็นสิ่งจ าเป็น แต่ก็ต้องให้ความส าคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดด้วย การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาด ปัจจุบันเริ่มมีความชัดเจนถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการแข่งขันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นด้านตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการใช้เทคโนโลยีผลิตขั้นที่เหนือกว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นหนึ่งในการครองตลาดนั้น ไม่จ าเป็นต้องใช้วิธีการออกแบบที่หนีจากคู่แข่งขันไปเรื่อยๆ แต่การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์คิดค้นขั้นที่เหนือกว่า และใช้เทคโนโลยีขั้นที่สูงกว่า ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งซึ่งนักออกแบบเริ่มให้ความส าคัญ

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ตราสินค้า

ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ชื่อ ข้อความ สัญญลักษณ์หรือรูปแบบหรือสิ่งเหล่านี้รวมกัน เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงสินค้า หรือบริการของผู้ขายหรือ
กลุ่มของผู้ขายที่แสดงความแตกต่างจากคู่แข่งขัน ตราสินค้าหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างรวมกัน คือ
- ชื่อตรา (brandname) ส่วนของตราที่เป็นชื่อหรือค าพูดหรือข้อความซึ่งออกเสียงได้ เช่น วัน ทู คอล, เค เอฟ ซี
- เครื่องหมายตราสินค้า (brandmark) ส่วนหนึ่งของตราซึ่งสามารถจดจ าได้แก่ สัญลักษณ์ รูปแบบที่ประดิษฐ์ต่าง ๆ หรือรูปภาพตลอดจน
สีสรรที่ปรากฏอยู่ในเครื่องหมายต่าง ๆ เหล่านี้
- เครื่องหมายการค้า (trademark) ส่วนหนึ่งของตราหรือตราที่ได้จดทะเบียนการ เพื่อป้องกันสิทธิตามกฎหมายแต่ผู้เดียว
- ลิขสิทธิ์ (copyright) สิทธิตามกฎหมายในสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ
- โลโก้ (logo) เป็นเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ของกิจการหรือองค์การหนึ่ง ๆ

หลักเกณฑ์ในการเลือกชื่อตราสินค้า (brandname)

- สั้น กะทัดรัด จดจ าได้ง่าย ออกเสียงได้ง่าย – มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
- แปลเป็นภาษาต่างประเทศได้ง่าย มีความหมายเหมาะสม – บอกถึงคุณสมบัติที่ส าคัญของผลิตภัณฑ์
- สอดคล้องกับค่านิยมและวัฒนธรรมของลูกค้าเป้าหมาย – น าไปจดทะเบียนการค้าได้ (ไม่ซ้ ากับที่มีอยู่เดิม)
ตราสินค้า มีความส าคัญอย่างยิ่ง ในสภาวะเศรษฐกิจ ที่มีการแข่งขันสูง ความอยู่รอดของผู้ผลิต อยู่ที่เกิดจากการตัดสินใจของผู้บริโภค จึง
ต้องหาวิธีที่จะท าให้ผู้บริโภคใช้ และบอกต่อกัน เพื่อให้หันมาใช้สินค้า หรือบริโภคสินค้าตัวนั้น ผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ จึงต้องสร้างตราสินค้า
เพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกัน ให้พ้นจากสินค้า ที่ด้อยคุณภาพ

ความสําคัญของตราสินค้า ที่มีต่อผู้ผลิต หรือผู้จาหน่าย

1. สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับสินค้า 2. ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จากผู้จ้องจะเลียนแบบ
3. ท าให้ผู้ซื้อ ที่ชื่นชอบสินค้า ไม่สับสน เท่ากับเป็นการป้องกันตัวเอง จากคู่แข่งขันได้

ความสําคัญของตราสินค้า ต่อผู้บริโภค

1. เป็นเสมือนค ามั่นสัญญา จากผู้ขาย 2. ท าให้เรารู้ว่าใครเป็นผู้ผลิต หรือสินค้าเป็นของผู้ใด
3. เป็นหลักประกันคุณภาพ ของสินค้า ต่อผู้บริโภค 4. เป็นตัวที่ท าให้ผู้บริโภค ตัดสินใจซื้อ

การสร้างตราสินค้าให้มีพลัง

1. ออกแบบตราสินค้าให้มีความเหมาะสม กับบรรจุภัณฑ์และตัวสินค้า
2. ต้องท าให้เกิดความแตกต่างกับตราสินค้า รายอื่น หรือของคู่แข่ง
3. ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าประเภท อุปโภค บริโภค ที่มีอยู่มากมายหลายชนิด บนชั้นวางขายสินค้า เมื่อได้
ตราสินค้า เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องท าขั้นต่อไปคือ การออกแบบฉลาก

ป้ายฉลาก (Labeling)

หน้าที่ของป้ายฉลาก
o บอกชนิดของผลิตภัณฑ์และตรายี่ห้อ
o ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
o ช่วยในการส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์

ข้อพิจารณาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1. พิจารณาลักษณะของผลิตภัณฑ์ ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติ ของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน เช่น
- ลักษณะทางกายภาพ เป็นของแข็ง ของเหลว แห้งเป็นผง เปียก กึ่งแข็งกึ่งเหลว ฯลฯ
- น้ าหนักของผลิตภัณฑ์ หนัก หรือ เบา – ขนาดใหญ่ เล็ก
- มีการผุกร่อนหรือไม่ (ถ้ามี ต้องป้องกันน้ า ออกซิเจน ได้ด้วย) – มีกลิ่นหรือไม่ (มีความต้องการ ในการเก็บกลิ่นหรือไม่)
- เสื่อมสภาพง่ายหรือไม่ (มีความต้องการป้องกันสิ่งสกปรก จากภายนอก รวมทั้งแสง หรือความร้อน หรือไม่)
2. การตลาด ต้องจัดอันดับของตัวผลิตภัณฑ์ ว่าอยู่ในต าแหน่งใด โดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ ที่เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน จากนั้นจึงจะ
ก าหนดรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ว่าจะเป็นถุง หรือ กล่อง เทคนิคการพิมพ์ จะเป็นแบบใด
3. การผลิตและการจัดจ าหน่าย ต้องทราบจ านวนการการผลิตบรรจุภัณฑ์ แต่ละครั้ง จ านวนผลิตภัณฑ์ ที่จะบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขีด
ความสามารถในการผลิต และรูปแบบ ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับช่องทางการจ าหน่าย
4. การขนส่ง ควรทราบว่าการขนส่งบรรจุภัณฑ์ นั้นไปในช่องทางใด เพื่อเลือกบรรจุภัณฑ์ ให้เหมาะสมกับการขนส่ง เช่น จะวางเรียงกันแบบ
ใด มีการซ้อนทับกันหรือไม่ ถ้ามีเป็นแบบใด
5. การเก็บรักษา (Storage) การเลือกบรรจุภัณฑ์จะต้องพิจารณาถึงวิธีการเก็บรักษา สภาพของสถานที่เก็บรักษา รวมทั้งวิธีการเคลื่อนย้าย
ในสถานที่เก็บรักษาด้วย
6. ลักษณะการน าไปใช้งาน ต้องน าไปใช้งานได้สะดวกเพื่อประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่าย
7. ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ เป็นปัจจัยที่จะต้องค านึงถึงเป็นอย่างมาก
8. ปัญหาด้านกฎหมาย บทบัญญัติด้านกฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ปรากฏชัดเจนคือ
8.1 กฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับฉลากการออกแบบกราฟฟิกของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ
นอกจากนี้ยังต้องศึกษาการใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
8.2 กฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
9. ผลกระทบต่อสังคม ปัญหาที่ยังมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังคือ ผลกระทบต่อนิเวศน์วิทยา (Ecology) เกี่ยวกับการท าลายซากของบรรจุ
ภัณฑ์ มูลเหตุที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุ

ข้อควรรู้เพิ่มเติมในการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ในการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม จ าเป็นต้องมีความรู้และพึงปฏิบัติรวม 10 ประการด้วยกันดังนี้
1. มีสามัญส านึก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ไวต่อความชื้น ต้องได้รับการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกัน ไอน้ าได้ดี ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันสูงก็ต้องใช้
วัสดุที่กันไขมันได้ ผลิตภัณฑ์ที่แตกหักง่าย ต้องมีการยึดมิให้เคลื่อน ที่ และใช้วัสดุกันกระแทก
2. มีความรู้ในวิชาฟิสิกส์และหน่วยที่ใช้ในด้านการบรรจุภัณฑ์เช่น ในเรื่องของมวล แรง ความดัน รวมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี-
กายภาพของบรรจุภัณฑ์ด้วย เช่น ความทนทานต่อการโค้งงอ
3. มีความรู้ในด้านการหีบห่อ มีความรู้ในเรื่องของชนิดและคุณสมบัติของวัสดุและบรรจุภัณฑ์เพื่อสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
รวมทั้งมีความเข้าใจในเรื่องส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ เช่น กาว แถบกาว สายรัด ฉลาก วัสดุกันกระแทก
4. มีความรู้เกี่ยวกับระบบการขนส่ง เช่น ความเสียหายเนื่องจากทางกล สภาพอากาศแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต สภาพของการล าเลียงขนส่ง
สินค้าและระบบการขนส่งหน่วยใหญ่ที่ควรใช้
5. มีความรู้ในผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ ได้แก่ คุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบคุณค่าทางโภชนาการ ความแข็งแกร่งหรือบอบบาง
สาเหตุที่ท าให้ผลิตภัณฑ์เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ ราคา และอายุการเก็บที่ต้องการ
6. มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบและข้อก าหนดของลูกค้า อันรวมทั้งกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ของประเทศที่จ าหน่ายสินค้าและมาตรฐานของ
บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าก าหนด
7. มีความรู้ในด้านเครื่องจักรที่ใช้ส าหรับการหีบห่อ เช่น เครื่องบรรจุ ปิดผนึก เครื่องห่อ เครื่องปิดฉลาก เครื่องพิมพ์ฉลาก
8. มีความรู้ในเรื่องจุดเด่นและ จุดด้อยของบรรจุภัณฑ์ที่คู่แข่งขันใช้อยู่
9. พัฒนาบรรจุภัณฑ์และทดสอบคุณสมบัติบางประการที่ท าได้ โดยง่าย และเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง
10. ส่งตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการปรับปรุงแล้วในข้อ 9 ไปยัง ศูนย์การหีบห่อหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบ
คุณสมบัติของวัสดุและบรรจุภัณฑ์ เพื่อยืนยันผลของการพัฒนาก่อนจะสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์ต่อไป

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
• การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การก าหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจน
การขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
• การออกแบบกราฟฟิค หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อ
ความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา (Psychological Effects) ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลัก
ศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์

ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ช านาญการบรรจุหลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณา
ตัดสินใจ ล าดับขั้นตอนของการด าเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น คือ
1. ก าหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ – ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น – การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์
4. การพัฒนาและแก้ไข
5.การพัฒนาต้นแบบจริง
6. การผลิตจริงออกมาจ านวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง ส าหรับการทดสอบทดลองครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบแก้ไขให้เป็นที่
เรียบร้อยแล้วจึงด าเนินการผลิตเพื่อน าไปบรรจุและจ าหน่ายในล าดับต่อไป

การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ท าหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดี
เยี่ยม ณ จุดขาย รูปทรงของบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับตัวโครงร่างกายของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนังของมนุษย์ ค า
บรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณ การออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ =
ค าบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์ เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และ
รูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า
S = Simple เข้าใจง่ายสบายตา A = Aesthetic มีความสวยงาม ชวนมอง
F = Function ใช้งานได้ง่าย สะดวก E = Economic ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่

หน้าที่ของกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์

• สร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต
• ชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึงชนิด ประเภทของผลิตภัณฑ์
• แสดงเอกลักษณ์เฉพาะส าหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ
• แสดงสรรพคุณและวิธีใช้ของผลิตภัณฑ์

การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านการตลาด ดังนี้

1. การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จ าต้องออกแบบให้จ าได้ง่าย ณ จุดขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เห็นหรือฟังโฆษณา
2. เจาะตลาดใหม่ มีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ในการเจาะตลาดใหม่หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่
3. ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเก่า อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนสีใหม่เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับสินค้า
เดิม แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่จ าต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคงตราสินค้าไว้
4. การส่งเสริมการขาย จ าเป็นอย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคทราบว่ามีการเพิ่มปริมาณสินค้า การลด
ราคา หรือการแถมสินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความอยากซื้อมากขึ้น
5. การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อสร้างความทรงจ าที่ดีต่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่มีตราสินค้าใหม่ควรจะได้รับการ
ออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสินค้า รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อตราสินค้า6. เปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ โดยปกติสินค้าแต่ละชนิดมีวัฏจักรชีวิตของตัวมันเอง (Product Life Cycle) เมื่อถึงวัฏจักรชีวิต
ช่วงหนึ่งๆ จ าเป็นต้องมีการเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุของวัฏจักร ในบางกรณี อาจเกิดจากนวัตกรรมใหม่ทางด้านบรรจุภัณฑ์
เช่น การเลือกใช้วัสดุใหม่จึงมีการเปลี่ยนรูปทรงหรือขนาด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการออกแบบบรรจุ
ภัณฑ์ใหม่เพื่อรักษาหรือขยายส่วนแบ่งการตลาด

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

วางแผนออกแบบบรรจุภัณฑ์

ขั้นตอนการวางแผนออกแบบบรรจุภัณฑ์

การวางแผนเริ่มต้นด้วยจุดประสงค์ของการพัฒนา พร้อมด้วยข้อจ ากัดต่างๆรายละเอียดการวางแผนต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 : การวางแผน

1.1 กําหนดเวลา
1.2 ผลงานที่จะได้รับในแต่ละขั้นท างาน
1.3 รายละเอียดของตราสินค้า (Branding)
1.4 ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 2 : การรวบรวมข้อมูล

2.1 ข้อมูลการตลาด
2.2 ข้อมูลจากจุดขาย
2.3 สถานะการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจ ากัด (SWOT: Strength, Weakness, Opportunity , Treat)
2.4 ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย / พฤติกรรมผู้บริโภค
2.5 เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ ระบบบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักร

ขั้นตอนที่ 3 : การออกแบบร่าง

3.1 พัฒนาความคิดริเริ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2 ร่างต้นแบบ ประมาณ 3-5 แบบ
3.3.ท าต้นแบบ ประมาณ 2-3 แบบ

ขั้นตอนที่ 4 : การประชุมวิเคราะห์ปรับต้นแบบ

4.1 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
4.2 วิเคราะห์การสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
4.3 เลือกต้นแบบที่ยอมรับได้

ขั้นตอนที่ 5 : การท าแบบเหมือนร่าง

5.1 เลือกวัสดุที่จะท าแบบ
5.2 ออกแบบกราฟฟิกเหมือนจริง พร้อมตราสินค้าและสัญลักษณ์ทางการค้า
5.3 ขึ้นแบบ

ขั้นตอนที่ 6 : การบริหารการออกแบบ

เริ่มจากการติดต่อโรงงานผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์จนถึงการควบคุมงานผลิตให้ได้ตามแบบที่ต้องการ พร้อมทั้งจัดเตรียมรายละเอียดการ
สั่งซื้อ (Specification) เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสามารถผลิตได้ตามต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการติดตามผลของบรรจุภัณฑ์ที่
ออกแบบไปแล้วว่าสามารถสนองตามจุดมุ่งหมายของการออกแบบและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรเพียงใด

Credit: iSMEs

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

Shampoo Bottles Factory Bangkok Thailand

Shampoo Bottle Factory Thailand

More than 200 designs of Shampoo Bottles Bangkok Thailand

We have many shampoo bottles for you to choose from or you can create own design by manufacture mold with us.

We have a good range and size for shampoo bottles from 40ml, 100ml, 120ml, 150ml, 200ml, 250ml, 300ml, 500ml, 750ml, 1000ml bottles.

You can have your shampoo bottles in many different color or clear natural color depending on your preference.

Our Shampoo Bottle Factory has is based in Bangkok, Thailand. Our shampoo bottles have been tested in vacuum test and other quality assurance process. We have other service includes delivery services, silkscreen printing services, consulting services, etc.

Talk to us to find out more on Shampoo Bottle Factory Thailand. Visit https://www.thaibottle.com/contact-us

Posted in: ผลิตภัณฑ์และบริการ

Leave a Comment (0) →