ออกแบบบรรจุภัณฑ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
• การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การก าหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจน
การขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
• การออกแบบกราฟฟิค หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อ
ความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา (Psychological Effects) ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลัก
ศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์
ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ช านาญการบรรจุหลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณา
ตัดสินใจ ล าดับขั้นตอนของการด าเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น คือ
1. ก าหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ – ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น – การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์
4. การพัฒนาและแก้ไข
5.การพัฒนาต้นแบบจริง
6. การผลิตจริงออกมาจ านวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง ส าหรับการทดสอบทดลองครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบแก้ไขให้เป็นที่
เรียบร้อยแล้วจึงด าเนินการผลิตเพื่อน าไปบรรจุและจ าหน่ายในล าดับต่อไป
การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ท าหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดี
เยี่ยม ณ จุดขาย รูปทรงของบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับตัวโครงร่างกายของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนังของมนุษย์ ค า
บรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณ การออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ =
ค าบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์ เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และ
รูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า
S = Simple เข้าใจง่ายสบายตา A = Aesthetic มีความสวยงาม ชวนมอง
F = Function ใช้งานได้ง่าย สะดวก E = Economic ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่
หน้าที่ของกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์
• สร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต
• ชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึงชนิด ประเภทของผลิตภัณฑ์
• แสดงเอกลักษณ์เฉพาะส าหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ
• แสดงสรรพคุณและวิธีใช้ของผลิตภัณฑ์
การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านการตลาด ดังนี้
1. การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จ าต้องออกแบบให้จ าได้ง่าย ณ จุดขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เห็นหรือฟังโฆษณา
2. เจาะตลาดใหม่ มีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ในการเจาะตลาดใหม่หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่
3. ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเก่า อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนสีใหม่เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับสินค้า
เดิม แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่จ าต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคงตราสินค้าไว้
4. การส่งเสริมการขาย จ าเป็นอย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคทราบว่ามีการเพิ่มปริมาณสินค้า การลด
ราคา หรือการแถมสินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความอยากซื้อมากขึ้น
5. การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อสร้างความทรงจ าที่ดีต่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่มีตราสินค้าใหม่ควรจะได้รับการ
ออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสินค้า รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อตราสินค้า6. เปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ โดยปกติสินค้าแต่ละชนิดมีวัฏจักรชีวิตของตัวมันเอง (Product Life Cycle) เมื่อถึงวัฏจักรชีวิต
ช่วงหนึ่งๆ จ าเป็นต้องมีการเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุของวัฏจักร ในบางกรณี อาจเกิดจากนวัตกรรมใหม่ทางด้านบรรจุภัณฑ์
เช่น การเลือกใช้วัสดุใหม่จึงมีการเปลี่ยนรูปทรงหรือขนาด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการออกแบบบรรจุ
ภัณฑ์ใหม่เพื่อรักษาหรือขยายส่วนแบ่งการตลาด
Credit: iSMEs
Posted in: Knowledge
Leave a Comment (0) ↓