การทดสอบบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อความปลอดภัย
ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์พลาสติกได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในธุรกิจสินค้าอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์อาหารส่งออก ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาหารเสื่อมสภาพ การสูญเสียคุณค่าทางอาหาร ตลอดจนเพื่อความสวยงาม และความสะดวกในการขนส่ง ผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก ตลอดจนโรงงานผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ควรคำนึงถึงการใช้และการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้มีคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานของประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรป ซึ่งประเทศไทยได้ส่งสินค้าอาหารไปจำหน่ายมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี
สหภาพยุโรปได้ออกระเบียบเกี่ยวกับวัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสอาหารใน Directive 2002/72/EC relating to plastic materials and articles intended to come into contact with foodstuffs “ กำหนดให้วัสดุบรรจุภัณฑ์และสารที่สัมผัสกับอาหารทั้งโดยตรงและ โดยอ้อม ไม่ถ่ายเทสารในวัสดุบรรจุภัณฑ์นั้นเข้าสู่อาหารในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในองค์ประกอบของอาหาร หรือไม่ทำให้ลักษณะทางกายภาพประเภท รูป รส กลิ่น สี เกิดการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งในระเบียบนี้ ประกาศห้ามใช้สาร azodicarbonamide ในการผลิตอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีผลทำให้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในผู้บริโภค และได้กำหนดกลุ่มสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ กลุ่มสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ในระยะเวลาหนึ่งและต้องเลิกใช้ ซึ่งจะมีการประกาศอนุญาตการใช้ชนิดใหม่ ๆ โดยระบุการใช้ที่ชัดเจน ทั้งนี้ ทางสหภาพยุโรปได้มีการแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าวล่าสุดครั้งที่ 4 ได้มีการบังคับใช้กฎดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2007 เป็นต้นไป หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จากเวบไซต์ของทางสหภาพ ยุโรป (EUROPA) หรือติดตามจาก www.thaieurope.net
พลาสติกที่สัมผัสอาหาร ในที่นี้ครอบคลุมถึง พลาสติกชั้นเดียว, พลาสติกชนิดหลาย ชั้น (plastic multi-layer material and articles) และพลาสติกที่มีลักษณะเป็นชั้นหรือใช้เคลือบประกอบกับฝาปะเก็น (coating, forming gasket in lids) ซึ่งในกระบวนการผลิตพลาสติกมีการใช้สารตั้งต้น (starting substance, monomer) เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์, 1 ,3- butadiene และมีการเติมสารเติมแต่งเพื่อให้พลาสติกมีคุณสมบัติตามต้องการ เช่น สาร phthalate, plasticizer สารเหล่านี้มีมวลโมเลกุลน้อย สามารถเคลื่อนย้ายจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกลงสู่อาหารได้ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
Credit: barascientific.com
Posted in: Knowledge
Leave a Comment (0) ↓